วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และการต่อรอง เชิงอำนาจ : กรณีศึกษากลอนลำของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ Cultural and Environmental Discourse on Fight and Power Negotiation: A Case Study of Northeastem Song’s Lyrice of Wiraphong Wongsin
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลอนลำของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกลอนลำว่าเป็นวรรณกรรมที่ยังคงมีชีวิตอยู่และถูกผลิตซ้ำความหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ท้องถิ่นการเห็นคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและความรู้สึกอยากกลับคืนไปสู่อดีต ทั้งนี้ผู้แต่งได้นำพื้นที่ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มาใช้ในการสร้างสรรค์กลอนลำทั้งในด้านของสุนทรียภาพ ให้ข้อคิดคติเตือนใจ และยังคงเป็นปากเสียงที่ส่งสะท้อนถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของชาวอีสาน จึงทำให้เกิดวาทกรรมโต้กลับกระแสของการพัฒนาที่ขาดความรับผิดชอบได้อย่างน่าสนใจ การศึกษาในครั้งนี้ จึงพยายามชี้ให้เห็นว่าผู้แต่งและหมอลำ ในฐานะผู้จับจ้องการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้มีบทบาทในการส่งสารทางวัฒนธรรมให้ผู้คนชาวอีสานที่หลงในมายาโลกาภิวัตน์ปัจจุบันได้หวนกลับมามองถึงความต้องการ/จำเป็นที่แท้จริงในการดำเนินชีวิตและยังแสดงให้เห็นว่ามีชาวอีสานจำนวนไม่น้อยที่มีสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและโหยหาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนโดยมีกลอนลำเป็นสื่อกลางที่เชื่อมร้อยให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตลอดไป
Abstract
The purpose of this article was to study the folk lyrics of Veeraphong Vongsin. The author noticed that the folk lyrics are the existing literature and are reproducing in terms of meaning on the local preservation, the appreciation of and importance of nature and environment, and the nostalgia. The author composed the folk lyrics based on the nature and environment in terms of appreciation, commentaries, and the reflection on the social development processes of Isan people pointing the reactive discourse on the irresponsible development which also could be found in the folk lyrics. This study, therefore, attempted to point out that the author and the folk singer (Molam) as the observers of social development had the roles in transmitting the cultural messages to the Isan people who doted in the globalization to look back to the real needs and necessities for living and to present. This article also presented that there were numerous of Isan people who have been realizingabout the local preservation mind and the nostalgia through the use of folk lyrics as a medium to connect people for the life-long prosperity.