เจ้าแม่สองนาง : การสร้างความหมายของความเชื่อ และบทบาทการเสริมพลังท้องถิ่น The Chao Mae Song Nang: Signification of Belief and the Role in Empowering Local Power

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี

Abstract

บทคัดย่อ

ความเชื่อเจ้าแม่สองนางปรากฏชัดเจนแถบชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงและได้แพร่กระจายเข้าสู่ชุมชนลุ่มน้ำชีตามการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในช่วงเวลาต่างๆ ทำให้การสร้างตำนานความเชื่อเจ้าแม่สองนางในแต่ละชุมชนท้องถิ่นมีความแตกต่างหลากหลายสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมและภูมินิเวศน์ในแต่ละพื้นที่ จากการ
วิเคราะห์เนื้อหาของตำนานเพื่อหาประเด็นทำให้เห็นร่องรอยของโครงเรื่องร่วมและสำนึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ลาวปรากฏอยู่อย่างน่าสนใจ ดังนั้นบทความนี้จึงพยายามทำความเข้าใจ 1) กระบวนการสร้างความหมายของความเชื่อเจ้าแม่สองนางของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่นับถือความเชื่อนี้ ซึ่งเงื่อนไขที่ช่วยสนับสนุนให้ความเชื่อดังกล่าวดูเป็นจริงและมีบทบาทต่อการรับรู้และปฏิบัติการประกอบด้วย 1.1) โครงสร้างอุดมการณ์และความเชื่อของชาติพันธุ์ไท-ลาวที่เกี่ยวกับความเชื่อวิญญาณและคตินับถือนาค 1.2) ภาคปฏิบัติการของวาทกรรม ซึ่งประกอบด้วยพิธีกรรมและการจัดองค์กรทางสังคม นอกจากนี้ยังได้พยายามอธิบาย 2) บทบาทของตำนานความเชื่อเจ้าแม่สองนางในการเสริมพลังท้องถิ่น โดยยกกรณีบ้านท่าขอนยางอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนตำนานเจ้าแม่สองนางเข้ากับตำนานและภูมินิเวศน์ของท้องถิ่น จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งยังได้ถูกบูรณาการเข้ากับทุนสังคมและทุนวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย

Abstract

The beliefs of the Chao Mae Song Nang’s female spirit worship visibly appear in the communities of the Khong river basin and have diffused to communities of the Chi river basin through time. It can also be noticed that the different myths of the Cho Mae Song Nang are related to various contexts of historical backgrounds and ecotypes of each community. However, traces of the shared plot of myths and a collective sense of the history and ethnicity of Laohood were hidden in those variously detailed versions. By using a content analysis technique in order to examine shared keywords and themes of Chao Mae Song Nang’s beliefs and myths, this paper endeavours to grasp 1) Signification of Chao Mae Song Nang’s beliefs of communities by representing the supporting conditions of this belief that can influence the perceptions and practices of believers, who believe in the realistic existence of Chao Mae Song Nang. These supporting conditions relied upon the Tai-Lao ethnicity’s structure of ideology and belief of 1.1) animism and Naka cult or serpent worship and 1.2) discursive practices of rituals and social organizations of people involved. Another studied issue is 2) the role of Chao Mae Song Nang’s belief in empowering and developing the local community. The community of Tha Khon Yang is a distinctive case where the official version of Chao Mae Song Nang’s myth was transformed to a local version according to the context of historical background and ecoculture of locality. Importantly, this belief has also been also integrated with other social and cultural capitals of the community as a mean of community development.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)
Author Biography

ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี, โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

นักวิชาการ สังกัดโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิสิตปริญญาเอก คณะวัฒนธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม