Woman in the Khmer Temple Myth of Northeast, Thailand

Main Article Content

สินทรัพย์ ยืนยาว

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษา “ผู้หญิง” ในตำนานปราสาทหินพื้นที่อีสานใต้ 4 จังหวัดโดยการรวบรวมข้อมูลลายลักษณ์ (Literary Source) และข้อมูลตำนานภาคสนาม (Oral Source) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับปราสาทหิน พบตำนาน จำนวน 25 เรื่อง 59 สำนวน เชื่อมโยงปราสาทหิน 16 แห่ง และวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานใต้จำนวน 2 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีทางคติชนวิทยาแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ตำนานปราสาทหินได้นำเสนอ “ผู้หญิง” ไว้ 4 ชุดความคิด ประกอบด้วย ชุดความคิดเรื่องความเป็นหญิงในสังคมชุดความคิดเรื่องการเป็นผู้นำ ชุดความคิดว่าด้วยความสามารถในการป้องกันตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น ชุดความคิดเรื่องความรู้และความฉลาด การศึกษาครั้งนี้สะท้อนภาพผู้หญิงในสังคมแบบปิตาธิปไตย (Patriarchy) ที่กำหนดกรอบชีวิตให้กับผู้หญิงอย่างไม่เป็นธรรม นำไปสู่การต่อรองและสร้างความหมายใหม่ของผู้หญิง

 

The role played and the social contribution made by “women” in the myth surrounding the Khmer temples of Northeastern Thailand is investigated in this research. Data were collected from literary sources and oral interviews with those familiar with the Khmer myth and the society within. It was found that there were 25 topics and 59 versions of the Khmer temple myth. Sixteen topics were directly related to the Khmer temple myth two of which were related to local literary works. Data were analyzed by descriptive analysis. The research findings revealed that the Khmer stone temple myth presented “women” in four concepts: First, the concept of the women in the society, second, the concept of woman in leadership roles, third, the concept of their ability to protect themselves and others, and fourth, the concept of knowledge and wisdom. This study describes the image of women in a patriarchal society which prescribed a socially unfair pattern of life. The unjust treatment resulted in negotiation and creation of a new meaning for women.

Article Details

Section
Articles (บทความ)