Transformational Leadership of Institution Administrators Affiliated with Kalasin Primary Educational Service Area Office 3

Main Article Content

นารินทร์ เดชสะท้าน
ชัยยนต์ เพาพาน
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน และศึกษา แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่า ควรส่งเสริม บุคลากรให้มีการพัฒนาตนเอง มอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถ วางแผน การปฏิบัติงาน ประพฤติตนเป็นอย่างที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาล เสริมแรงครู ส่งเสริมให้ ครูทำผลงานที่เป็นเลิศ และกำหนดมาตรฐานปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย เดียวกัน

 

Differing viewpoints expressed by school directors and teachers about the process of transformational leadership of institute administrators are presented in this study. Additional input on ways to improve transformational leadership of school directors affiliated with the Office of Educational Service Kalasin Area 3 is also presented. The samples in the study were 354 school directors and teachers. The data were collected by questionnaire, rating scale, and discrimination. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test including content and descriptive analysis of qualitative information from a focus group. Results showed transformational leadership of institutional administrators at a high level. When considered separately, level of education showed a statistically significant difference at .05, but no difference was noted when considering work experience. The outcome of the study suggested ways to improve transformational leadership of institutional administrators. Those ways included encouraging workers to develop themselves, putting the right man on the right job, using the leader as a role model, using good governance principles for promotions, asking for best practices and identifying a standard of cooperation among workers that achieves a common goal.

Article Details

Section
Articles (บทความ)