A Study of the Preparedness for the External Guality Assessment (the 3rd round) of the Small Schools Under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 1

Main Article Content

แสงจันทร์ ม่วงจันทร์
ธีระ ภูดี
คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมรับการประเมินภายนอก รอบสามโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เปรียบเทียบความพร้อมรับการประเมินภายนอก รอบสามของโรงเรียนขนาดเล็กที่ผ่านและไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกรอบสอง 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ภายนอกรอบสาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ การศึกษา จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า สถิติใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติที่ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบสาม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) โรงเรียนขนาดเล็กที่ผ่านและไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ ภายนอกรอบสอง มีความพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบสามไม่แตกต่างกัน 3) ด้านผลการจัดการศึกษา พบปัญหามากที่สุดคือ ผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบระดับชาติค่าเฉลี่ยต่ำ แก้ปัญหาโดย จัดสอนทบทวนแบบเข้ม ด้านการบริหารจัด การศึกษา พบปัญหามากที่สุดคือ งบประมาณบริหารจัดการไม่เพียงพอ แก้ปัญหาโดย จัดทอดผ้าป่าการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบปัญหามากที่สุด คือ ครูไม่ครบชั้น แก้ปัญหาโดยการจ้างครูพิเศษ ด้านการประกัน คุณภาพภายใน พบปัญหามากที่สุดคือ ครูไม่เข้าใจเกณฑ์การประเมิน แก้ปัญหาโดย ศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่ผ่านประเมินแล้ว

 

The purposes of the research were: 1) to study the level of preparedness for the external quality assessment (the 3rd round) of small schools 2) to compare the levels of preparedness for the external quality assessment (the 3rd round) of the small schools that had passed or not passed the external quality assessment (second round), 3) to study the problems and solutions of preparedness for the external quality assessment (the 3rd round) of the small schools. The sample group consisted of 160 administrators and teachers who are responsible for quality assurance in education. The research instrument was a questionnaire (rating scale). Statistics were mean, standard deviation, frequency, percentage and T-test. The results of the research were: 1) The preparedness for the external quality assessment (the 3rd round), showed that all 4 sides had average preparedness at a good level. 2) The small schools that had or had not passed the second round of the external quality assessment showed no difference in preparedness for the external quality assessment (the 3rd round). 3) Education Management problems and solutions were as follows: The most common problem is a low average score of learning achievement on the national education test. The solution is to conduct an intensive review of teaching techniques prior to testing. Educational Administration problems and solutions were as follows: The most common problem is insufficient administration budget. The solution is to organize a charity for education. Child-centered learning management problems and solutions were as follows: The most common problem is the low number of teachers in learning management. The solution is to employ extra teachers. Internal Quality Assurance: The most common problem is teachers do not understand the evaluation criteria. The solution is to conduct a study visit from a school that had passed the external quality assessment.

Article Details

Section
Articles (บทความ)