Management of Learning Process for development of Ban Non Museum, Kham Pom Sub District, Wapipathum District, Maha Sarakham Province

Main Article Content

ปริชต์ สาติ

Abstract

บทความนี้ได้วิเคราะห์การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ เครือข่าย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดบ้านโนนฯ ประกอบด้วย นิสิตสาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชาวบ้านชุมชนบ้านโนน ครูและนักเรียน โรงเรียนข้ามป้อมพิทยาคมและโรงเรียนบ้านโนน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดบ้านโนนฯ 2) เพื่อสนับสนุน กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดบ้านโนนฯ และ 3) เพื่อใช้ การจัดการพิพิธภัณฑ์และการจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนฐาน วัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม และใช้การจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 1) การจัดการกลุ่ม 2) การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3) การทำ ทะเบียนวัตถุ 4) การจัดแสดงนิทรรศการ และ 5) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนท้องถิ่น ผลการดำเนินงานพบว่า 1) สามารถฟื้นฟูและพัฒนาการดำเนินงานของ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดบ้านโนนฯ ให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง 2) เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดบ้านโนนฯ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการทำงานเป็นกลุ่ม เข้าใจวิธีการศึกษา และเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การจัดทำทะเบียนวัตถุ การจัดทำ นิทรรศการ และวัฒนธรรมท้องถิ่น 3) ส่งผลให้เครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งต่อยอดไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาเพื่อ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย

 

This article aims to analyze and evaluate a research project that focused on participant’s management of a learning process. The learning process centers on the development of Ban Non Museum, Kham Pom Sub District, Wapipathum District, Maha Sarakham Province. Four sample groups were assembled composed of students whose major is history and who attend the Faculty of Humanity and Social Science at Mahasarakham University. The people of Ban Non served as research fellows and were joined by teachers and students from Ban Non School and Ban Kham Pom School. The objectives of this study were 1) revive and develop the management process of Ban Non Museum 2) support the learning process of the various networks at Ban Non Museum 3) use the management of the museum and the learning process as a tool in the development of the local community. The culture based segment of the participant management system, for example, will be used to interpret data from fieldwork. The learning process used to motivate this research project consisted of 1) group organization 2) studying local history 3) devising a register of ethnic materials and cultural heritages 4) creating exhibition displays and 5) conserving other arts and cultures present in the local community. The results taken from this research project are expressed as follow: 1) The learning process could help revive and develop the management of Ban Non Museum as a living museum. 2) The personnel in the various networks of the Ban Non Museum could understand and appreciate the importance of teamwork, local history, registration of ethnic materials and cultural heritages, exhibition displays and arts and cultures of local community. 3) The networks of Ban Non Museum and the people involved in the networks could now clearly recognize and realize the importance of their local museum and community. This learning process not only supported the management of the local museum but met the basic needs of the people in the community. As an example, the learning process demonstrated how development of the community’s cultural cotton weaving pastime could easily become a source of employment for local residents.

Article Details

Section
Articles (บทความ)