Developing Suitable Levels of Competency of Staff at Kalasin Rajabhat University
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนา บุคลากรสายปฏิบัติการ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะที่เหมาะสม ในการพัฒนาบุคลากรตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) หาแนวทางพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จำนวน 182 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบัค (Cronback’s Alpha Coefficient) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ด้วยค่า t และ ค่า F ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงาน โดยรวมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน ยุทธศาสตร์ขององค์กร วิธีการพัฒนา สาระที่ต้องการพัฒนา ทัศนคติในการทำงาน ทักษะในการทำงาน และสภาวะผู้นำ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อ สมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากร 7 ด้าน ซึ่งใช้สถิติวิเคราะห์ด้วยค่า t และ ค่า F เทียบนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พบว่า ไม่มีสมรรถนะด้านใดที่มีค่าน้อยกว่า ค่านัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความคิดเห็น ต่อสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากร 3) มหาวิทยาลัยควรมีการสนับสนุนให้ บุคลากรสายปฏิบัติการพัฒนาตนเอง ทั้ง 7 ด้าน เพื่อให้การบริหารของมหาวิทยาลัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
This research project aimed to 1) study the current competency level of staff at Kalasin Rajabhat University and 2) compare opinions about what are suitable levels of competency with special consideration given to staff background 3) create guidelines for further development of suitable levels of competency of the staff. The sample group was 182 staff members at Kalasin Rajabhat University chosen with the Krejcie and Morgan Table. The instrument used in the study to collect data was a questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test and F-test. The results of the research found 1) The behavior of staff was at a good level. Behavior assessment included human relations, organization, work detail, work skills and leadership. 2) A comparison of opinions in 7 aspects, analyzed by t and F, was significant at .05, which inferred that the staff’s different backgrounds did not influence opinions about their level of suitable competency. 3) The University should continue to support staff in 7 aspects to assure a more effective and responsive staff.
Article Details
Section
Articles (บทความ)