Staff’s Satisfaction on School Based Management in Basic Schools under The Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 5

Main Article Content

สุดาทิพย์ สารเหล่าโพธิ์
วิโรจน์ มุทุกันต์
สำเร็จ ยุรชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของบุคลากรที่มีตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษาต่างกันต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติ F-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของบุคลากรมีต่อการบริหารโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง 3 ด้านแรก คือ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารตนเอง และด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล 2) ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารไม่แตกต่างกันทั้งตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหาร คือ มีมาตรการตรวจสอบความถูกต้องโปร่งใสในการบริหารงานของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา

 

The objectives of this research were 1) to study staff satisfaction of the School Based Management system in Basic Schools, under jurisdiction 2) to compare the satisfaction level between staff that hold different level positions and have different school sizes and 3) to study guidelines for further developing school based management in basic schools, under jurisdiction. The samples were 271 school administrators, official teachers, and administrators of basic school boards. The research instrument for data collection was the 5 level rating scale with IOC = 1.00, and Reliability of total issue = 0.82. The statistic used for data analysis included Percentage, Mean, Standard Deviation, and Frequency. F-test (Two-way ANOVA) was employed for hypothesis testing. The research findings were 1) staff’s satisfaction in participatory management was at a “High” level overall and lowered to low across these categories: decentralization, self-management, and checks and balances. 2) The comparative findings of staff’s satisfaction Level on school-based management in basic schools under jurisdiction found that were no significant differences in both their position and school size. 3) The guidelines for a school based management system in basic schools under jurisdiction could be concluded as follows: the school administration and management should be held accountable according to a measurement system, the staff should participate in decision making pertaining to the implementation of school work, and keep students’ parents, community, and stakeholders informed by having the schools report their progress based on the school action plan.

Article Details

Section
Articles (บทความ)