The Development of Science Activity Packages Based on Constructivist Theory for Mathayomsuksa 4

Main Article Content

รุ่งทิวา การะกุล
ประสาท เนืองเฉลิม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสมสนุกพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.62/84.48 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6896 3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.014) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

The purposes of this research were to 1) develop science activity packages based on constructivist theory for Mathayomsuksa 4 with a required efficiency of 80/80, 2) find out effectiveness indices ofscience activity packages based on constructivist theory for Mathayomsuksa 4, 3) compare learning achievement of students between before and after learned through science activity packages based on constructivist theory and 4) study learning satisfaction of students who learned by science activity packages. The populations used in this study were 24 students of Mathayomsuksa 4 in the second semester of the academic year 2015, Somsanukpittayakom School, Pakkad District, Bungkan Province. The tools used in the study were the learning packages and lesson plans, the achievement testandthe learning satisfaction questionnaire. Statistics values used in this study consist of percentage, means, standard deviation and t-test. The results were as follows : 1) The science learning activity packages based on constructivist theory for Mathayomsuksa 4 had an effectiveness of 83.62/84.48 2) The efficiency indices of science learning activity packages based on constructivist theory for Mathayomsuksa 4 was 0.6896.3) Student had learning achievement after studying using the science learning packages was significantly (p<0.01) higher than before studying. 4) Students had the high level of learning satisfaction after learned by science activity packages based on constructivist theory.

Article Details

Section
Articles (บทความ)