Students’ Political Perception of Kalasin University

Main Article Content

ยุทธพงษ์ เขื่อนแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประชากรในการวิจัยจำนวน 3,994 คน กลุ่มตัวอย่าง 367 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามและ แบบทดสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าแปรปรวนทางเดียว ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 18 คะแนน จาก 30 คะแนน) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาอยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.62) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีเพศและคณะต่างกันมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเหมือนกันแต่นักศึกษาที่ชั้นปีและมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ต่างกันมีความความเข้าใจทางการเมืองแตกต่างกัน และนักศึกษาที่เรียนต่างชั้นปีมีส่วนร่วมทางการเมืองเหมือนกัน แต่นักศึกษาที่มีเพศ คณะ ผลคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกัน แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเริ่มจากการปลูกฝั่งจิตสำนึกเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

 

This research aim to 1) study the levels political understanding. 2) compare the level of political knowledge by personal factors and 3) to propose, promote and developing political understanding of students in Kalasin University. Samples of this study ware stratified sampling 367 people derive from 3,944 undergraduate students from Kalasin University. The research instrument are questionnaire and tests in the process data collection. Data were analyzed by Computer software. To test hypotheses of the study, descriptive and inferential statistics (percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANONVA with statistical significant of .05) The results indicated that the level of political understanding of students in Kalasin University is intermediate level. (Mean = 18 points out of 30 points), found that high levels of one side is the Constitution (mean = 7 points), moderate two aspects : democracy (mean = 6 points) and politics and political organizations (mean = 5), the factor of political participation of the students is at intermediate level. (mean = 2.62). The results of hypothesis testing found that students with a different sex and faculty. Students have political Understanding as well but the students with a different class year and a grade point average (GPA) have political understanding of differences and the students with a different the class year of political participation as well but the students with a different gender, different faculty, the grade point average (GPA) as part of political participation differences. The Guidelines for promotion and development, begin from inculcation awareness to become democratic citizen.

Article Details

Section
Articles (บทความ)