Comparing of Learning Achievement in Mathematics and Statistics for Everyday Life in Students of Rajamangala University of Technology Isan by Using Inquiry and Intelligences

Main Article Content

นิรันดร์ นิติสุข

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนสืบเสาะหาความรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2/2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2 กลุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มที่ได้รับการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาจำนวน 38 คน 2) กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เก็บข้อมูลโดยทดสอบก่อนเรียนแล้วดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม แล้วนำผลการทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบหาค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Paired-Samples) และการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย (t-test)ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และตามแนวคิดพหุปัญญาไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05)

 

This research aims to 1) examine student achievement in mathematics and statistics used in everyday life. Before and after learning of the students. Who has been taught by the Multiple Intelligences 2) to compare the achievement of students who have been taught a quest for knowledge and the concept of multiple intelligences. The sample of students enrolled semester 2/2558 sample two specific groups : 1) group that has been taught by the multiple intelligences of 38 people and 2) groups were taught a quest for knowledge. the number 26 was used in the research are: 1) plan the form. Teaching Inquiry 2) Plan based on the concept of multiple intelligences and 3) Achievement Test. Data were collected using pretest Then proceed to teach the lesson plans. Test after test by studying the original. After the test, both before and after learning the odds for average and (t-test) (Paired-Samples) and (t-test) (Independent –Samples). The
results showed that 1) achievement in mathematics and statistics used in everyday life. Who has been taught by the multiple intelligence before and after learning a different significance level (p≤0.05). 2) achievement in mathematics and statistics used in everyday life. After learning of the students have been taught a quest for knowledge and the concept of multiple intelligences no difference at a significant level. (p≥0.05).

 

Article Details

Section
Articles (บทความ)