การศึกษาบริบทชุมชนเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในเขตตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ตรียากานต์ พรมคำ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและคัดเลือกชุมชนสำหรับ การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาตัวบ่งชี้ว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว และศึกษาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ที่จะทำการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในเขตตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก ประชาชน และนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกในระดับนโยบายที่จะทำการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ สวนดงตาล โดยจัดทำเป็น ตลาดน้ำสวนดงตาล ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชน และนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน ตัวบ่งชี้ที่ระบุว่าพื้นที่สวนดงตาลควรจะ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ นโยบายที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาสามปีของทางเทศบาล เมืองหล่มสัก แนวทางการพัฒนาของทางจังหวัดเพชรบูรณ์ และแนวคิดทฤษฎีความ เป็นไปได้ สำหรับแนวทางการพัฒนาสวนดงตาล ได้แก่ การสร้างเขื่อนกักน้ำ การจัด กิจกรรมดนตรีภายในสวนดงตาล การให้บริการอินเตอร์เนตภายในสวนดงตาล การสร้างห้องน้ำ การสร้างลานจอดรถ การจัดให้มีร้านอาหารทั้งกลางวัน-กลางคืน การจัดให้มีแหล่งทิ้งขยะ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวสวนดงตาล และเสริมสร้างให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณสวนดงตาลตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาสวนดงตาลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย

 

A Study of Community Context for Developing Tourist Attractions in Lomsak Sub-district, Lomsak District, Phetchabun Province

The purposes of this research were to 1) study community context and then choose appropriate communities to develop as tourist attractions, 2) study indicators that qualify appropriate areas for development as tourist sites, 3) study the development processes in the tourist areas. The researcher conducted the study by selecting the population living in Lomsak sub-district, Lomsak district, Phetchabun province. Interviews with key samples such as the Lomsak mayor were conducted. Local people and visiting tourists were likewise interviewed in order to identify their needs and determine how their thoughts were relevant to area development of tourist sites in Lomsak sub-district.

The results of the study showed that the site of Dongstan Park was selected to develop as an important tourist attraction in accordance with the policy to develop important tourist attractions, Further, it would be developed and managed as Dongtan Park floating market. The plan was viewed as being relevant to both the people’s and tourists’ needs. In addition, the indicator specifying that Dongtan Park should be developed as a tourist site was part of the Lomsak mayor’s development policy. The policy was entitled in the three-year plan of Lomsak municipality and also corresponded to the provincial development plan of Phetchabun. This theoretical concept was possible to achieve. Significant challenges must be met to develop Dongtan as a tourist site: the construction of a water reserving dam, arranging garden music, make the internet available around the park, construct toilets and parking, build day and night food stalls, provide litter bins, and to publicize with a tourist attraction signs. Finally, it would be necessary for local people to promote the park and be aware of its importance and benefits after it was developed as a tourist site.

Article Details

Section
Articles (บทความ)