การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

เอ็มไพร์ อันโนนจารย์
ธีระ ภูดี
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของครูผู้ดูแลเด็ก ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) แนวทางการพัฒนา ครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3) ผลการพัฒนา ครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบ ด้วย ผู้วิจัยและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 6 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบบันทึกการศึกษา เอกสาร แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมิน และ แบบสะท้อนผลการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลในเชิงบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า เทศบาลมีนโยบายและแผน มียุทธศาสตร์ใน การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นพัฒนาครูโดยการอบรมและศึกษาดูงาน แต่ครูยัง ขาดความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ แนวทางการพัฒนาครู ผู้ดูแลเด็ก พบว่า ใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ บูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาครู และผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้และมีความมั่นใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพิ่มมากขึ้น

 

This study focused on three components of a teacher development project (1) the current state of teachers who organize the integrated learning experience at the Child Development Center of Rong Kham Sub-District Municipality, Rong Kham district, Kalasin province, (2) the guidelines for developing teachers in organizing an integrated learning experience, and (3) the results of developing teachers in organizing an integrated learning experience. There were 6 participants consisting of 5 teachers and the researcher. Instruments comprised a record form for literature review, a semi-structured interview form, a test, an observation form, an evaluation form, and a reflection form. The quantitative data were analyzed with percentage and mean, while the qualitative ones were analyzed using a content analysis and were presented descriptively.

The results of this research revealed that with regards to the current state of teachers organizing an integrated learning experience, the municipality had a policy and action plan for the child development center. It also had strategies for organizing a variety of learning activities. The municipality emphasized teacher development by encouraging the teachers to attend a training course and a study visit; however, the teachers’ knowledge pertaining to organizing an integrated learning experience was at a low level. Regarding guidelines for developing teachers, a workshop on organizing an integrated learning experience was employed to develop the teachers. After developing, the results indicated that the participants acquired a higher knowledge and a higher degree of confidence in organizing an integrated learning experience.

Article Details

Section
Articles (บทความ)