แนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

จุฑามาศ หอมกลิ่น
ธีระ ภูดี
อมร มะลาศรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผน ประชากรได้แก่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา 81 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 272 คน และครูผู้ดูแลเด็ก 213 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าและแบบบันทึกสรุปการประชุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า การปฏิบัติตามกระบวนการวางแผนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการวางแผน จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและประเมินความต้องการด้านกำลังคน 2) ขั้นวางแผน กำหนดลำดับความสำคัญของปัญหา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แผนงานสำหรับจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี 3) ขั้นดำเนินการหรือขั้นนำแผนไปปฏิบัติ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพิ่มเติม 4) ขั้นการติดตามประเมินผลสร้างเครื่องมือในการติดตามและประเมินผล และเผยแพร่ผลประเมินไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) ขั้นการทบทวนหรือจัดทำแผนใหม่ ใช้ผลประเมินในการปรับปรุงแผนพัฒนาใหม่ให้เหมาะสม นำแผนไปใช้ และประเมินผลที่ได้อีกครั้ง

 

Guidelines for Developing a Planning Process in Child Development Centers Affiliated with Sub-District Administrative Organizations in Kalasin Province

This research had three objectives: 1) to study the level of practice that is in accordance with the planning process of child development centers affiliated with sub-district administrative organizations in Kalasin province, 2) to study the problems with practicing in accordance with the planning process, and 3) to study guidelines for developing a planning process. The population consisted of 81 directors of education divisions, 272 chairpersons of child development centers, and 213 teachers. The instruments comprised a rating scale questionnaire and a form listing the minutes of the meeting. Statistics were mean and standard deviation. The results revealed that overall; the practice that was in accordance with the planning process was at a low level, while the problems of practicing in accordance with the planning process were at a moderate level. With regards to guidelines for developing the planning process, the following suggestions were offered: (1) in the preparation stage, arrange an information system and analyze needs in manpower; (2) in the planning stage, arrange problems in the order of importance and collect data along with analysis of a plan for formulating an annual action plan; (3) in the implementation stage, have a manual in addition to the plan; (4) in the follow-up and evaluation stage, construct instruments for follow-up and evaluation and disseminate results to the organizations involved; and (5) in the review stage, use the results to adjust the plan, then implement and evaluate it again.

Article Details

Section
Articles (บทความ)