วรรณกรรมเรื่องพระลักพระลามกับบทบาทในสังคม วัฒนธรรมสองฝั่งโขง

Main Article Content

สมัย วรรณอุดร

Abstract

       บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของวรรณกรรมเรื่องพระลักพระลามหรือรามเกียรติ์ฉบับลาวที่มีปรากฏอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมลุ่มนํ้าโขง ได้แก่ 1) บทบาทด้านศิลปกรรม 2) บทบาทด้านนาฏศิลป์และ 3) บทบาทด้านมหรสพ จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันวรรณกรรมเรื่องพระลักพระลามยังคงมีบทบาทอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมสองฝั่งโขงเป็นอย่างมาก กล่าวคือ 1) บทบาทด้านศิลปกรรมทั้งในจิตรกรรมและประติมากรรมยังมีความโดดเด่นอยู่ทั้งในลาวและภาคอีสานของไทย โดยภาพพระลักพระลามในงานจิตรกรรมนั้นมีปรากฏทั้งผลงานที่ได้รับอิทธิพลจากราชสำ นักและช่างพื้นบ้าน ในงานประติมากรรมนั้นส่วนมากจะมาจากเรื่องรามเกียรติ์ หรือได้รับอิทธิพลจากเรื่องรามเกียรติ์ของไทย 2) บทบาทด้านนาฏศิลป์มีทั้งโขนและการฟ้อนนางแก้ว ซึ่งเคยเป็นศิลปะที่โดดเด่นในสมัยอาณานิคมและราชอาณาจักร ถึงแม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่ก็ยังคงถูกนำ มารับใช้ชาติอีกเช่นเดิมโดยเฉพาะในเมืองหลวงพระบาง และ 3) บทบาทด้านมหรสพนั้นในภาคอีสานเป็นที่นิยมทั้งในการแสดงหนังประโมทัยและหมอลำ ส่วนในประเทศลาวปรากฏเฉพาะในการแสดงหนังประโมทัยเท่านั้น และมีการปรับเปลี่ยนบทบาทพระลักพระลามเป็นพระโพธิสัตว์นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทสังคมใหม่เพื่อเหตุผลทางการเมือง ส่วนหมอลำมีเพียงคณะเดียวที่นำมาแสดง

 

The Role of Phra Lak Phra Lam in Society and Culture of Two sides of The Mekong River

        The objective of this article was to study the role of the literature “Phra Lak Phra Lam” or “Ramayana” in Lao version immerged in the society and culture of the Mekong River basin in the aspects of 1) the fine arts, 2) the performing arts, and 3) the entertainment. The study revealed that the Phra Lak Phra Lam literature still had a role in social and culture along the Mekong river basin in the high level which could be said that: 1) the role in fine arts in the paintings and sculptures were prominent in both of Laos and northeast of Thailand which the picture of Phra Lak Phra Lam has appeared in the paintings influenced by the royal artist and the local artist while most of sculptures were influenced by Ramayana story or from Ramayana of Thai version, 2) the role of performing arts includes “the Knone drama” and “Nang Keaw Dance” which were the outstanding performance in the colonial and the Kingdom period, although currently there is a change of government administration, the Phra Lak Phra Lam are still performed, especially in Luang Prabang, and 3) the role in entertainment was very popular in the northeast of Thailand which adapted in both “Mo Thai” and Mo Lam”, while it was only adapted in the performance of “Mo Thai” in Laos, there was also be the change of characteristics of Phra Lak Phra Lam to be the Bodhisattva who conserved a natural resources in the context of new social for political reasons, and there is only one “Mo Lam band in the northeast of Thailand has taken this role to perform. 

Article Details

Section
Articles (บทความ)