ศิลปะการออกแบบแผนที่โบราณในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา ฉบับกรุงธนบุรี
Main Article Content
Abstract
แผนที่โบราณที่ปรากฏในสมุดภาพไตรภูมิเป็นหนึ่งในแบบแผนการเขียนสมุดภาพไตรภูมิที่สืบต่อกันมา ดังจะพบว่าผู้สร้างได้เขียนภาพทะเลชายฝั่งของประเทศสยาม ภาพแสดงการเดินทางเรือพาณิชย์ (เรือสำเภา) ไปยังทะเลสำคัญอย่างคาบสมุทรอินเดีย มีลักษณะการวาดภาพร่วมกับข้อความเป็นการนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยกล่าวถึงระยะทางที่ยาวไกล มีหน่วยนับเป็นโยชน์ (1 โยชน์เท่ากับ 16 กิโลเมตร) แผนที่โบราณเหล่านั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของบันทึกการเดินทางมากกว่าแสดงความถูกต้องตามหลักของแผนที่
ข้อจำกัดของหน้ากระดาษที่เขียนเพียงหนึ่งพับกระดาษสมุด ส่งผลให้การออกแบบแผนที่โบราณแต่ละฉากจำเป็นต้องใช้ศิลปะของการลดทอนและการแต่งเติมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์หรือจิตรกรนำไปใช้ในงานสร้างสรรค์เสมอมา ดังเช่น การวาดภาพแผ่นดินด้วยลายเส้นอย่างง่ายเป็นรูปทรงเรขาคณิตและเขียนข้อความกำกับ การลดทอนผิวน้ำใน บางฉากที่เขียนเพียงพื้นที่ว่างที่แสดงความกว้างไกลของมหาสมุทร การวาดลายเส้นของคลื่นน้ำ ลำคลองที่ไหลเป็นทางยาวหล่อเลี้ยงตั้งแต่ต้นเรื่องของภาพแผนที่ไปจนสิ้นสุดภาพที่หน้าของนิทาน ทศชาติชาดก
ศิลปะการออกแบบแผนที่โบราณในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี ยังแสดงให้เห็นถึงการประสานกันของทัศนธาตุ เพื่อให้เกิดเป็นความเคลื่อนไหวและเกิดช่องไฟซึ่งเป็นภาษาภาพที่บอกเล่าหลากหลายเรื่องภายใต้ผืนภาพเดียวกันโดยมีองค์ประกอบของแม่น้ำเชื่อมรอยต่อของทุกฉากทุกตอนไว้จนตลอดเล่ม
Article Details
The content within the published articles, including images and tables, is copyrighted by Rajamangala University of Technology Rattanakosin. Any use of the article's content, text, ideas, images, or tables for commercial purposes in various formats requires permission from the journal's editorial board.
Rajamangala University of Technology Rattanakosin permits the use and dissemination of article files under the condition that proper attribution to the journal is provided and the content is not used for commercial purposes.
The opinions and views expressed in the articles are solely those of the respective authors and are not associated with Rajamangala University of Technology Rattanakosin or other faculty members in the university. The authors bear full responsibility for the content of their articles, including any errors, and are responsible for the content and editorial review. The editorial board is not responsible for the content or views expressed in the articles.
References
พิมพ์วดี เอื้อมธุรพจน์. (2556). “แนวคิดรูปแบบของไทย ผ่านภูเขาแห่งความศรัทธาตามรอยการ
วิเคราะห์ของเพลโต”. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรม
ไทย. ฉบับที่ 9 (กันยายน 2555-สิงหาคม 2556) หน้า 265-301.
ศิลป์ พีระศรี. (2487). ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ. พระนคร: กรมศิลปากร.
หอสมุดแห่งชาติ. (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : กรม
ศิลปากร.