การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติของปัจจัยที่มีอิทธิพลในระยะสั้นและระยะยาว ต่ออุปสงค์นำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันของประเทศไทย

Main Article Content

สุเทพ บูรณะคุณาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงพลวัตเพื่อทดสอบหาความสัมพันธ์เชิง    ดุลยภาพในระยะสั้นและระยะยาวของอุปสงค์นำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันกับตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันต่อราคาและรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิควิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ โดยที่กลุ่มตัวอย่างจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบรายปีจำนวน 26 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2537–2562 


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวในทิศทางเดียวกันกับ GDP และการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำมันในประเทศ แต่มีทิศทางตรงกันข้ามกับราคานำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยเฉลี่ย และเมื่อเกิดภาวะใดๆ ที่ทำให้ปริมาณการนำเข้าในระยะยาวออกจากดุลยภาพ การปรับตัวของปริมาณการนำเข้าในระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่จะถูกปรับให้ลดลงร้อยละ 75.79 ในแต่ละปี  2) ค่าความยืดหยุ่นของปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันต่อราคาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอยู่ที่ระดับ -0.129 และ -0.182 ในขณะที่ค่าความยืดหยุ่นต่อรายได้อยู่ที่ระดับ 0.930 และ 0.266 ตามลำดับ นั่นก็คือการตอบสนองของความต้องการนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาและรายได้ค่อนข้างน้อยและช้า

Article Details

How to Cite
บูรณะคุณาภรณ์ ส. (2022). การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติของปัจจัยที่มีอิทธิพลในระยะสั้นและระยะยาว ต่ออุปสงค์นำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 3(3), 1–12. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/256943
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563). รายงานสถิติพลังงานรายปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

Altinay, G. (2007). Short-run and long-run elasticities of import demand for crude oil in Turkey. Energy Policy, 35, 5829-5835.

Ashraf, H., Hussain, K.I., Javaid, A., & Awais, M. (2018). Price and income elasticities of crude oil demand: Cross country analysis. European Online Journal of Natural and Social Sciences: Proceedings, 7, 110-122.

Dickey, D.A., & Fuller, W.A. (1979). Distribution of the estimators for autoregressive time series with a unit root. Journal of the American Statistical Association, 74, 427–431.

Dickey, D.A., & Fuller, W.A. (1981). The likelihood ratio statistics for autoregressive time series with a unit root. Econometrica, 49, 1057–1072.

Engle, R.F., & Granger, C.W.J. (1987). Co-integration and error-correction: Representation, estimation and testing. Econometrica, 55, 251—276.

Kubra, K.T., Mahmood, M.T., Sher, F., & Awan, R. U. (2018). Income and Price Elasticities of Demand for Imported Crude Oil in Pakistan. Pakistan Economic Review, 1, 12-29.

MacKinnon, J.G. (1991). Critical values for cointegration tests, In R.F. Engle & C.W.J. Granger (Eds.), Longrun economic relationships: Readings in cointegration (pp. 267-276). Oxford University Press.

Marbuah, G. (2017). Understanding crude oil import demand behavior in Africa: the Ghana case. Journal of African Trade, 4, 75–87.

Ziramba, E. (2010). Price and income elasticities of crude oil import demand in South Africa: A cointegration analysis. Energy Policy, 38, 7844–7849.