การพัฒนาระบบการบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). เพื่อพัฒนาระบบบัญชีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถาบันการเงินชุมชนตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และ 2). เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้แบบฟอร์มและการใช้งานระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้นสำหรับสถาบันการเงินชุมชนตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ระบบบัญชีที่พัฒนาจากโปรแกรม Microsoft Excel และ แบบประเมินความพึงพอใจการใช้แบบฟอร์มและการใช้งานระบบบัญชี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่บัญชีของสถาบันการเงินชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินชุมชนของตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถิติ เชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า ระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถาบันการเงินชุมชนตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยความพึงพอใจต่อระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้นสำหรับสถาบันการเงินชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.47 คะแนน ประกอบด้วยความพึงใจการใช้แบบฟอร์มระบบบัญชีในภาพรวม ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.44 คะแนน และความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบบัญชีที่พัฒนาขึ้น ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.49 คะแนน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
ดวงเดือน เภตรา และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินกองทุนหมู่บ้านท่าม่วงหมู่ที่ 4: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้าน ท่าม่วงหมู่ที่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัสชัย กีรติผจญ. (2563). ระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
ยุทธชัย สกุลพฤทธิ์. (2552). การเป็นสมาชิกของสถาบันการเงินชุมชน: กรณีศึกษาสถาบันการเงินชุมชนตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พัฒนศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
วิจิตรรัตน์ บุญทอง. (2559). ระบบบัญชีและการควบคุมภายในของกองทุนหมู่บ้าน: กรณีศึกษาอำเภอ
ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วิไล วีระปรีย และคณะ. (2563). ระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 29. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2564). สถาบันการเงินชุมชนตำบลบางระกำ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน, 2564 จาก http://www.codi.or.th/downloads/community_news/community_ news-may53.pdf.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2564). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน, 2564 จาก http://www.villagefund.or.th
สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาแห่งชาติ
สุขุม โพธิสวัสดิ์. (2561). การวางระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
ไอลัดดา โอ่งกลาง. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนตาบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
McGriff, S. J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Retrieved June 10, 2003, 513-553.