ภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

Main Article Content

ธิดารัตน์ พุฒศิริ
อัศวิน เสนีชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นําด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการและ เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นําด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยจําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี จำนวน 234 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและวิธีการสุ่มแบบง่ายตามตารางการกำหนด
กลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .996 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นําด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นําด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ พบว่า ขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
พุฒศิริ ธ. ., & เสนีชัย อ. . . (2024). ภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางพลี สังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 6(2), 81–96. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJSH/article/view/273230
บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ กมล และ สุภาวดี ลาภเจริญ. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตปิยมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 1-16.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุทธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัพระนครศรีอยุธยา.

สพม.สมุทรปราการ. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีพ.ศ. 2565 - 2567. https://www.sesaosp.go.th/website/wp-content/uploads/2022/ 06/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%AF-65-67-%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A1.%E0%B8%AA%E0%B8%9B.pdf

สมพร ทรงจอหอ และคณะ. (2563). การศึกษาลักษณะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุปรีดา โกษาแสง และคณะ. (2565). เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารสถานศึกษาในยุค Digital Transformation Digital Technology for School Management in the Digital Transformation Era. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(37), 242-248.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.