ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และทัศนคติต่อการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก,, พฤติกรรมการเรียนรู้,, ทัศนคติต่อการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเรียนหลังการเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 90 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบวัดทัศคติต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.08) แต่หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้เปลี่ยนไปจากก่อนเรียนคือ มีพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.57) โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีมากที่สุด ได้แก่ ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสามารถอย่างมีความสุข (
= 4.88) ผู้เรียนแนะนำวิธีการทำงานและช่วยเหลือเพื่อนในชั้นเรียน (
= 4.83) และผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน (
= 4.76) ตามลำดับ ทัศนคติต่อการเรียนของผู้เรียนหลังเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.58) โดยในด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนคิดว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากที่สุด (
= 4.79) ส่วนในด้านผู้เรียน ผู้เรียนคิดว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทำให้ผู้เรียนมีความสุขและอยากมาเรียนวิชานี้มากที่สุด (
= 4.74)
References
พฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9, หน้า 122-136.
บุญถิ่น อินดาฤทธิ์. (2556). พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านการเรียนการสอนภายใต้แนวคิดของการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการอาชีพเกษตร สายวิชาเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 1(3), หน้า 12-16.
ไพศาล เครือแสง. (2556). เทคนิคการสอนเชิงรุก เรียนรู้ประสบการณ์จาก Shelton College International
ประเทศสิงคโปร์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของอาจารย์มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.spu.ac.th/tlc/files/2013/05/km-activelearning-.pdf
[2559, 20 มิถุนายน].
ศิริรัชส์ อินสุข, อภิชาติ อัจฉริยศักดิ์ชัย และรณภพ อิ้มทับ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกรายวิชาชีวเคมี ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน (หน้า 192-200). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สมจิต หนูพิชัย. (2551). ผลการใช้วิธีสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับเทคนิคการอภิปรายกลุ่ม
แบบโต๊ะกลมต่อทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
สุมิตตา พูลสุขเสริม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (active learning) ของผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.
สุระ บรรจงจิตร. (2551). Active learning ดาบสองคม. วารสารโรงเรียนนายเรือ, 8(1), หน้า 34-42.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. Washington, DC: School of Education and Human Development, George Washington University.
Chickering, A. W., & Gamson, Z. F. (1987). Seven principles for good practice in undergraduate education. The Wingspread Journal, 9, pp. 1-10.
Sweller, J. (2006). The worked example effect and human cognition. Learning and Instruction, 16(2), pp. 165-169.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี