คุณลักษณะของสื่อวีดิทัศน์และวิธีการสอนโดยการใช้สื่อวีดิทัศน์ เรื่องการเย็บแผลและผ่าฝี ตามความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์,, คุณลักษณะของสื่อวีดิทัศน์,, วิธีการสอน,, ผู้เรียน,, ผู้สอน,, ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ,, การเย็บแผลและการผ่าฝี

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงผสมผสานวิธีเพื่อศึกษาคุณลักษณะของสื่อวีดิทัศน์และวิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่อง การเย็บแผลและผ่าฝี ตามความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษา จำนวน 22 คน อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ จำนวน 5 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้การสนทนากลุ่ม ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 106 คน อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ จำนวน 5 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 0eo;o3 คน ได้ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 หาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า

              1. คุณลักษณะของสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การเย็บแผลและผ่าฝี ตามความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ มีดังนี้ 1) เนื้อหา “ถูกต้อง ชัดเจน กระชับ และตรงกับเอกสารคำสอน” 2) ภาพ “เทคนิคดี คมชัด ชัดเจน เสมือนจริง” และ 3) เสียง “ชัดเจน เข้าใจง่าย ดึงดูดใจ เสมือนสอนจริง” โดยคุณลักษณะด้านภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา และด้านเสียง

          2.  วิธีการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่อง การเย็บแผลและผ่าฝี ที่ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อต้องการมากที่สุดคือ ใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการสอนแบบสาธิต โดยวิธีการสอนแบบให้ดูสื่อวีดิทัศน์แล้วสอนการสาธิตในชั่วโมงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ สอนแบบสาธิตแล้วดูสื่อวีดิทัศน์ในชั่วโมงเรียน และสอนแบบสาธิตในชั่วโมงเรียนแล้วดูสื่อวีดิทัศน์นอกเวลาเรียน (ก่อนและหลัง)

           จากผลการวิจัย ผู้ผลิตสื่อวีดิทัศน์ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่ดีคือ มีเนื้อหาถูกต้อง ภาพและเสียงชัดเจน และควรนำสื่อวีดิทัศน์ไปใช้ในการเรียนการสอนร่วมกับการสอนแบบสาธิต โดยให้ดูสื่อวีดิทัศน์ก่อนการสอนแบบสาธิตให้เสร็จสิ้นในชั่วโมงเรียน

Author Biography

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.
จตุพร ตันตะโนกิจ, นิศารัตน์ นรสิงห์ และวิลาสินี แผ้วชนะ. (2558). การพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลด้วยกิจกรรมสารทเดือนสิบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 25(3), หน้า 80-92.
ณัฐนันท์ เกตุภาค, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. (2555). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 38(3), หน้า 99-109.
ณรงค์ สมพงษ์. (2535). สื่อเพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ปิยะดนัย วิเคียน. (2560). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวีดิทัศน์และกระบวนการผลิตวีดิทัศน์และภาพยนตร์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://krupiyadanai.wordpress.com/computer4/ [2561, 1 ตุลาคม].
ริปอง กัลติวาณิชย์. (2556). ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกเรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), หน้า 642-654.
วชิระ อินทร์อุดม. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิชา 212703 การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. (2559). ประมวลรายวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น. สงขลา: ม.ป.ท.
สภาการพยาบาล. (2554). ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: ศิริยอดการพิมพ์.
อาคีรา ราชเวียง. (2561). คุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ในการเยียวยาด้านจิตใจของชาวมุสลิมจากสถานการณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), หน้า 219-227.
Cronbach, L. J. (1951). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.
Dale, E. (1969). Audio visual methods in teaching (3rd ed.). New York, NY: Holt Rinehatr and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30