การปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการลดความสูญเปล่า ในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายอะไหล่ยนต์ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ,, ความสูญเปล่า,, กระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง,, ต้นทุน,, ระยะเวลา,, ความผิดพลาดของข้อมูลบทคัดย่อ
กระบวนการจัดการสินค้าคงคลังที่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความสูญเปล่าด้านความผิดพลาดในการตรวจนับสินค้าคงคลัง มีต้นทุนสูง และสิ้นเปลืองเวลา การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลังตั้งแต่ด้านความผิดพลาดของข้อมูลในการตรวจนับสินค้าคงคลัง ด้านต้นทุนการจัดเก็บอะไหล่ยนต์ และด้านระยะเวลาในการค้นหาอะไหล่ยนต์ และเพื่อเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง เก็บและรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 16 คน ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้อัตราความผิดพลาดของข้อมูลในการตรวจนับสินค้าคงคลัง การคำนวนหาต้นทุนจม และค่าเฉลี่ยเวลา รวมถึง Why-Why Analysis ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวัดประสิทธิภาพของอัตราความผิดพลาดของข้อมูลในการตรวจนับสินค้าคงคลังพบความสูญเปล่าถึงร้อยละ 46.23 เช่นเดียวกับต้นทุนการจัดเก็บอะไหล่ยนต์เกิดความสูญเปล่าสูงถึง 740,815 บาท ขณะที่ระยะเวลาในการค้นหาอะไหล่ยนต์พบว่าเกิดความสูญเปล่าสูงถึง 10.9 นาทีต่อรายการ
เมื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง พบว่าสามารถลดความผิดพลาดของข้อมูลในการตรวจนับสินค้าคงคลังได้ถึงร้อยละ 13.59 เช่นเดียวกับต้นทุนการจัดเก็บ อะไหล่ยนต์ที่ลดลงถึง 94,372 บาท ขณะที่ระยะเวลาในการค้นหาอะไหล่ยนต์รวดเร็วขึ้นถึง 4.8 นาทีต่อรายการ ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงความสำคัญของการลดความสูญเปล่าตั้งแต่ด้านความผิดพลาดในกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง ต้นทุน และระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพ
References
ฝ่ายบัญชี ร้านกระนวนช่างกล. (2562). รายงานผลบัญชีสินค้าคงคลัง ประจำปี 2562. ขอนแก่น: ร้านกระนวนช่างกล.
อาทร จิตสุนทรชัยกุล. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้าของอุตสาหกรรมผ้าเบรคในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท เอส. ซี. เอช. อินดัสตรี จำกัด. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(102), หน้า 45-57.
Antoniolli, P. D. (2016). Information technology framework for pharmaceutical supply chain demand management: A Brazilian case study. Brazilian Business Review, 13(2), pp. 27-55.
Barasa, N., Oluchina, S., & Cholo, W. (2018). Influence of inventory management practices on availability of medicines in public health facilities in Bungoma County, Kenya. International Journal of Academic Research and Development, 3(6), pp. 53-60.
Heizer, J., Render, B., & Munson, C. (2017). Operations management sustainability and supply chain management (12th ed.). Boston, MA: Pearson.
Kasim, N. (2015). Intelligent materials tracking system for construction projects management. Journal of Engineering & Technological Sciences, 47(2), pp. 218-230.
Kissa, B., et al. (2019). Using time-driven activity-based costing to improve the managerial activities of academic libraries. The Journal of Academic Librarianship, 45(5), pp. 4-11.
Nobil, A. H., Sedigh, A. H. A., & Cárdenas-Barrón, L. E. (2019). A generalized economic order quantity
inventory model with shortage: Case study of a Poultry farmer. Arabian Journal for Science and Engineering, 44(3), pp. 2653-2663
Russell, R. S., & Taylor, B. W. (2014). Operations and supply chain management: International student version. Singapore: John Wiley & Sons.
Teixeira, C., Lopes, I., & Figueiredo, M. (2017). Multi-criteria classification for spare parts management:
A case study. Procedia Manufacturing, 11, pp. 1560-1567.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี