การเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อโอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา และคณะ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบ, ปัจจัยประชากรศาสตร์, โอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านต่าง ๆ ของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมไทยพวนของชุมชนบ้านเชียง และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อโอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 446 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ (Systematic Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายข้อมูลพื้นฐานปัจจัยประชากรศาสตร์ และสถิติการทดสอบค่าที (t test) การทดสอบค่าเอฟ (F test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบสมมติฐาน
           ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-43 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท สถานภาพสมรส มีลักษณะที่พักเป็นบ้านตัวเอง ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย และเดินทางมากับเพื่อน มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการท่องเที่ยว 15,001-20,000 บาท ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยววัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ด้านคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม การจัดการด้านการท่องเที่ยว (ราคาผลิตภัณฑ์และบริการ) ศักยภาพในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากปัจจัยภายนอก อยู่ในระดับ

Author Biography

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา และคณะ, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). รายงานการวิจัย การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), หน้า 64-80.

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ใน การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของเทคนิคการทำวิจัยเชิงปริมาณ (หน้า 1-2). ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ป๋อจิง เฟิง และชุติน แก้วนพรัตน์. (2565). อิทธิพลของการรับรู้ความคุ้มค่าและการรับรู้วัฒนธรรมไทยต่อการกลับมาท่องเที่ยวซํ้าในประเทศไทยของนักท่องเทียวชาวจีนหลังสถานการณ์โควิด–19. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 60 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หน้า 307-314). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภูริ ชุณห์ขจร. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงอาหารและส่วนประสมทางการตลาดบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารชายฝั่งทะเลตะวันตก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), หน้า 66-82.

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 1(1), หน้า 28-54.

ศิวรัตน์ กุศล และธรรญชนก เพชรานนท์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจมาท่องเที่ยว โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. สุทธิปริทัศน์, 32(101) หน้า 134-148.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาวดี โพธิยะราช. (2564). มรภ.หมู่บ้านจอมบึง มุ่งมหา’ลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สกสว.แนะดัน มวยไทย-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมูลค่าสูง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.tsri.or.th [2565, 11 มีนาคม].

สุรเชษฏ์ อ่ำสั้น. (2560). แนวทางการสนับสนุนการกลับมาเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://repository.nida.ac.th/items/4c7d78ad-139b-4bfc-ae30-92b30e0ac086 [2565, 11 มีนาคม].

Cole, S.T., & Chancellor, H.C. (2009). Examining the festival attributes that impact visitor experience, satisfaction and re-visit intention. Journal of Vacation Marketing, 15(4), pp. 323-333.

Liang, L., & Zuo, D. (2022). A Study on the Impact of Cultural Attraction on the Intention of Chinese Visitors Revisiting Thailand. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews (IJSASR), 2(6), pp. 107-120.

Sarah O. (2015). What is a repeat customer and why they’re worth investing in Zendesk (Online). Available: https://www.zendesk.com/blog/5-secrets-encourage-return-customers/. [2022, March 12].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21