การศึกษาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับนักศึกษา ด้านอุตสาหกรรมบริการในจังหวัดชลบุรี*
คำสำคัญ:
นักศึกษา, นวัตกรรม, อุตสาหกรรมบริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมในแต่ละมิติของหมวกแต่ละใบหมวก 6 สี ครอบ 6 ใบ สำหรับนักศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเลือกกลุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านอุตสาหกรรมบริการที่เต็มใจในการให้ข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธี Games-Howell สำหรับการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จังหวัดชลบุรี มีความคิดเห็นอยู่ระดับที่เห็นด้วย ว่านักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมในแต่ละมิติของหมวกแต่ละใบตามทฤษฎีหมวก 6 สี ครอบ 6 ใบ ดังนี้ ในการทำงานเรื่องใด ๆ นักศึกษาจะคิดคำนึงถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น (หมวกสีขาว), นักศึกษามักจะสำรวจความต้องการหรือสำรวจความคาดหวังในผลงานก่อนเสมอ (หมวกสีแดง), นักศึกษาจะพิจารณาข้อเสียหรือ
จุดด้อยของผลงานเสมอ (หมวกสีดำ), นักศึกษาจะพิจารณาถึงประโยชน์ของผลงานเสมอ (หมวกสีเหลือง), นักศึกษาจะพิจารณาถึงผลกระทบที่ดีต่ออุตสาหกรรมบริการ (หมวกสีเขียว) และนักศึกษามักจะเรียงลำดับความสำคัญของความคิดในการทำงานเสมอ (หมวกสีฟ้า) 2) นักศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จังหวัดชลบุรี มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม ในมิติของหมวกสีฟ้า หมวกสีเขียว และหมวกสีขาว มากกว่ามิติของหมวกสีอื่น ๆ ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานักศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จังหวัดชลบุรี ควรพัฒนานักศึกษาในเรื่องการศึกษาความคิดเห็น ความต้องการ และความชื่นชอบของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, สราญ นิรันรัตน์, จิราภรณ์ จันทร์อารักษ์, บุญเตือน วัฒนกุล, และทุติยรัตน์ รื่นเริง. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), หน้า 178-193.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ : กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2),
หน้า 13-24.
ชูศรีวงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.
นัยนา รัตนสุวรรณชาติ, เขมมารี รักษ์ชูชีพ และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2562). นวัตกรรมการจัดการ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฏหมาย, 11(3),
หน้า 543-554.
พิชญาพร พีรพันธุ์, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2566). กรอบแนวคิดศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม : ปัจจัยเชิงสาเหตุ
และผลลัพธ์. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 8(2), หน้า 306-318.
วัชรวิชญ์ วิยาภรณ์. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวของนักศึกษา บัณฑิต นักวิชาการ และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว.
วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), หน้า 30-44.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381 [2566, 18 สิงหาคม].
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
De Bono, E. (2017). Six thinking hats. London: Penguin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี