ปัญหาทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในคดีอาญา
คำสำคัญ:
พยานหลักฐาน, คดีอาญาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยกับต่างประเทศ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และการนำพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในคดีอาญา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการให้บริการทางนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 พบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 มิได้อนุญาตให้บุคคลอื่นนอกจากพนักงานสอบสวนร้องขอให้ตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียม และไม่ได้แยกประเภทสิ่งที่ส่งตรวจว่าสามารถนำตัวอย่างจากส่วนใดของบุคคลไปตรวจได้โดยต้องขอความยินยอม และนำตัวอย่างจากส่วนใดของบุคคลไปตรวจได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม อาจส่งผลต่อการรับฟังพยานหลักฐาน นอกจากนั้น ตามพระราชบัญญัติการให้บริการทางนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 เป็นเพียงการกำหนดหน้าที่อย่างกว้าง ๆ มิได้กำหนดขอบเขตหรือกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ สิทธิของผู้รับปฏิบัติที่จะต้องถูกบังคับตามพระราชบัญญัตินี้แต่อย่างใด
ข้อเสนอแนะของการวิจัย เห็นควรกำหนดขั้นตอนให้ผู้เสียหายและผู้ต้องหาสามารถร้องขอให้พนักงานสอบสวนตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้นสอบสวนได้ และควรให้มีการแยกประเภทของพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นประเภทที่กระทบเนื้อตัวร่างกายและไม่กระทบเนื้อตัวร่างกาย ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกตรวจนั้น โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 และพระราชบัญญัติการให้บริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง จะทำให้การแก้ไขปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้นสอบสวนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
เข็มชัย ชุติวงศ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
ณัฐ ตันศรีสวัสดิ์ และชินวัต สุวรรณทิพย์. (2552). การรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: http://thailis-db.car.chula.ac.th/CU_DC/Journal/JournalDec2006/nov1.pdf [2561, 30 กันยายน].
เทพนฤทธิ์ พี่พิมาย. (2547). อำนาจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน. สารนิพนธ์นิติ ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรทิพย์ โรจนสุนันท์. (2554). ความรู้เบื้องต้นเรื่อง DNA fingerprint. บทบัณฑิตย์, 52(2), หน้า 86-100.
ไพจิตร สวัสดิการ. (2547). การพิสูจน์ลายพิมพ์ ดี เอ็น เอ ในศาลในคดีอาญา. ดุลพาห, 51(3), หน้า 22-44.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2541). การใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญทางนิติเวชและทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยาน
ในศาลกับการใช้ผู้เชี่ยวชาญในทางที่ไม่ถูกต้อง. ดุลพาห, 45(2), หน้า 175-182.
สุรนาท วงศ์พรหมชัย. (2551). การตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กับพยานหลักฐานในคดีอาญา. วิทยานิพนธ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุดม รัฐอมฤต. (2544). การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28.
กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี