ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการออกกำลังกายกับปัจจัยส่วนบุคคล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการออกกำลังกาย, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการออกกำลังกายกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (= 1.65, SD = 0.23) 2) เพศและวิธีการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และ 3) คณะ สถานที่ออกกำลังกาย และจุดประสงค์ในการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.
กุลธิดา เหมาเพชร และคณะ. (2555). พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม: ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ทัศนันท์ กาบแก้ว. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยการพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์. (ม.ป.ป.). วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกาย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=36749&name=content71&area=3 [2561, 7 มกราคม].
ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารคณะพลศึกษา, 9(2), หน้า 5-18. /
รสรินทร์ แก้วตา. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย ของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมนึก แก้ววิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.
สุดจิต ไตรประคอง, วัชรีย์ แสงมณี และกมลทิพย์ ถาวรประสิทธิ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออกกำลังกายของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(2), หน้า 75-92.
สุนารี เจตสิทธิ์. (2553). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. การศึกษาอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อลงกรณ์ ศรีเลิศ และศราวุฒิ แสงคำ. (2559). ทัศนคติ พฤติกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกายของ บุคลากรวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น และบุคลากรโรงเรียนไฮเทคเทคโนโลยี. ตาก: คณะสาธารณสุข ศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี