แบบจำลองเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริม ด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืน, กองทัพบก

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ด้านต้นทุนการผลิต และด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนของกองทัพบก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed method research) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนของกองทัพบก โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าและการบริหารจัดการพลังงานทดแทน และตัวแทนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่กองทัพบก ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างแบบจำลองเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบกอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบค่า Chi-square (x2) มีค่าเท่ากับ 591.49 ค่า df เท่ากับ 295 ค่า P-value เท่ากับ 0.060 GFI เท่ากับ 0.98 AGFI เท่ากับ 0.94 CFI เท่ากับ 0.92  RMSEA เท่ากับ 0.042 พลังงานไฟฟ้าสีเขียวเพื่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก ค่า df เท่ากับ 295 ค่า P-value เท่ากับ 0.060 GFI เท่ากับ 0.98 AGFI เท่ากับ 0.94 CFI เท่ากับ 0.92  RMSEA เท่ากับ 0.042 พลังงานไฟฟ้าสีเขียวเพื่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบกที่เหมาะสมคือ รูปแบบของโซล่าร์รูฟทอป ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคาร และรูปแบบการส่งเสริมโครงการโซล่าฟาร์มโดยการจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจบนที่ดินราชพัสดุ  ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนของกองทัพบกเพื่อนำไปดำเนินการและพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป

References

กระทรวงพลังงงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.
วราวุธ ศรีแสน. (2559). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังงานไฟฟ้าสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชิต อู่อ้น. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2556 ก). โซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ความหวังใหม่พลังงานทดแทนไทย. กรุงเทพฯ: ไดเร็คชั่น แพลน.
_______. (2556 ข). ทิศทางพลังงานไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: ไดเร็คชั่น แพลน.
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2553). แผนยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2554-2564. กรุงเทพฯ: กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม.
Midilli, A., Dincer, I., & Ay, M. (2006). Green energy strategies for sustainable development. Energy Policy, 34, pp. 3623-3633.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31