การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จุฬาวลี มณีเลิศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, คุณภาพน้ำ, การตรวจวัดคุณภาพน้ำ

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในชุมชน 3) เพื่อประเมินผลการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ระบบ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ทดสอบการทำงานด้วยวิธีแบบ Black Box Testing และวิธี White Box Testing วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

      ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพน้ำผิวดินของจุดเก็บตัวอย่างน้ำ 7 จุด จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ค่าอุณหภูมิน้ำ ความขุ่น พีเอช และออกซิเจนละลายน้ำ โดยภาพรวมคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี 2) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่พัฒนาขึ้น สามารถแสดงตำแหน่งของจุดเก็บตัวอย่างบนแผนที่ และนำเสนอผลคุณภาพน้ำในรูปแบบของตารางและกราฟ ผู้ใช้งานระบบสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลรายงานคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำในพื้นที่ได้สะดวก 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.55) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.92)

Author Biography

จุฬาวลี มณีเลิศ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

References

จักรพันธ์ โพธิพัฒน์, หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์ และชวัลรัตน์ สมนึก. (2562). การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในช่วงเปิดนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ประจำปี พ.ศ. 2560. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(2), หน้า 205-216.
จินตนา อมรสงวนสิน. (2551). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์: กรณีศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
แม่น้ำภาชี อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 4(1), หน้า 66-89.
ณัฐพร สืบสอน และจั๋นฟอง หนานสาม. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีผลกระทบต่อน้ำแม่กวง.
ในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (หน้า 66). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี 2561-2564 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.muangkaen.go.th/index.php [2561, 10 ธันวาคม].
นงเยาว์ สอนจะโปะ และสิทธิพงษ์ พุทธวงษ์. (2562). การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักการ Responsive Web Design.
วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(4), หน้า 88-99.
มงคลกร ศรีวิชัย และพนิตตา พวงแก้ว. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือพิบัติภัยในชุมชนหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี.
ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2556 (หน้า 139-147). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วฤษาย์ ร่มสายหยุด. (2561). หลักการวิศวกรรมซอฟต์แวร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัลลภ ทองอ่อน และสุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. (2554). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินทางด้านการเกษตร จังหวัดกำแพงเพชร.
สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 17(1), หน้า 21-36.
สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลําพูน และจังหวัดเชียงราย.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), หน้า 230-243.
สุนันทา เนตะคำ และสุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำของน้ำตกของอุทยานแห่งชาติภูเรือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 37(6), หน้า 847-855.
สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. (2557). คู่มือการดําเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26