การพัฒนาบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์ บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ แก้วตะพาน โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา"

คำสำคัญ:

บทเรียน mobile learning, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภูมิศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 6) เพื่อประเมินคุณภาพโครงงานของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

            ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (research and development: R & D) แบบผสมผสานวิธี (mixed methods research) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design หาคุณภาพของบทเรียน Mobile Learning ตามเกณฑ์ค่าความตรงตามเนื้อหา สร้างแบบทดสอบเน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ โดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.27/81.83 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) เท่ากับ 0.78 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.00 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสามารถทางภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียน Mobile Learning อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพโครงงานของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning อยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (project-based learning) ตอนที่ 1 (ออนไลน์). (2558). เข้าถึงได้จาก: https://candmbsri.wordpress.com/2015/04/08/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A-2/ [2562, 23 พฤษภาคม].
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: พี บาลานซ์ไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2551). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: วงกมลโปรดักชัน.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย แก้วกิริยา. (2558). Mobile learning (m-learning) ก้าวสำคัญของการศึกษายุคใหม่ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/90/ContentFile1830.pdf [2562, 19 มกราคม].
พูลศรี เวศย์อุฬาร. (2551). M-learning (เอ็มเลิร์นนิ่ง) and U-learning การเรียนทางเครือข่ายไร้สาย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://thaimlearning.blogspot.com/2007/02/mobile-learning-mlearning.html [2562, 19 มกราคม].
มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรม: การเรียนและการสอนด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Liu, Huanglingzi, et al. (2008). An activity-oriented design framework for mobile learning experience. In Fifth IEEE Internatinal conference on
wireless, mobile and ubiquitous technology in education (pp. 185-187). Beijing, China: IEEE Computer Society Conference Pub.
Quinn, Clark. (2011). Designing mlearning: Tapping into the mobile revolution for organizational performance (Online). Available:
http://www.designingmlearning.com/author.html [2019, January 19].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26