รุ่นของคน ความพึงพอใจในงานกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ของพนักงานในบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชูเกียรติ จากใจชน วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คำสำคัญ:

รุ่นของคน, ความพึงพอใจในงาน, ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงาน และศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของตัวแปรความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงาน โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคล รุ่นของคน และความพึงพอใจในงาน เป็นตัวแปรพยากรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ มีจำนวน 2,765 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน และแบบสอบถามความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .918 และ .821 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, Pearson Correlation และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) พนักงานชายมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในงานในรายด้านย่อย ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านสัมพันธภาพกับหัวหน้างานและการบังคับบัญชา และด้านโครงสร้างองค์กรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ตลอดจนภาพรวมทุกด้าน และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพนักงานหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พนักงาน Generation Y มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในงานในรายด้านย่อยคือ ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของพนักงาน Generation X อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจในงานในแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานด้านอื่น ๆ และความพึงพอใจในงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  พบว่าที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ให้เป็นค่าคงที่ ความพึงพอใจในงานในรายด้านย่อย ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพกับหัวหน้างานและการบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงานและการบรรลุความสำเร็จ และด้านโครงสร้างองค์กรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานได้ร้อยละ 38.40

Author Biography

ชูเกียรติ จากใจชน, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

References

ปุญชรัสมิ์ สังข์เอี่ยม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3), หน้า 119-130.
สายสุนีย์ เกษม. (2559). ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทํางานของบุคลากรสายวิชาการระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), หน้า 151-174.
อุดมพร ป้องเกียรติชัย. (2560). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดในคลินิกและโรงพยาบาลเอกชน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bacharach, Samuel B., Bamberger, Peter, & Conley, Sharon. (1991). Work-home conflict among nurses and engineers: Mediating the impact of role stress on burnout and satisfaction at work. Journal of Organizational Behavior, 12(1), pp. 39-53.
Cinamon, Rachel Gali, & Rich, Yisrael. (2010). Work family relations: Antecedents and outcomes. Journal of Career Assessment, 18(1), pp. 59-70.
Holbeche, Linda. (2017). Influencing organizational effectiveness: A critical take on the HR contribution. New York, NY: Routledge.
Izvercian, Monica, Potra, Sabina, & Ivascu, Larisa. (2016). Job satisfaction variables: A grounded theory approach. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 221, pp. 86-94.
Kumar, Khushboo, & Chaturvedi, Rachna. (2017). Work-life balance and job satisfaction from the perspective of multiple job holding women: Comparative analysis of generational cohorts. International Journal of Advances in Management and Economics, 6(5), pp. 32-40.
Langer, Arthur M., & Yorks, Lyle. (2018). Strategic information technology: Best practices to drive digital transformation (2nd ed.). New York, NY: Wiley.
McNamara, Eddie. (1998). The role of thinking and feeling: Extending assessment beyond behavior. Pastoral Care in Education, 16(2), pp. 10-19.
Purohit, Pranay. (2004). Job satisfaction and work motivation. New Delhi, India: Sharada.
Schermerhorn, John R., & Hartley, Robert F. (1994). Management for productivity (4th ed.). Oxford, UK: John Wiley & Sons.
Setiawan, Muhammad Riza, Krishnan, Hari, & Selvan, Tamil. (2019). The relationship between job characteristic and nurse performance in Islamic Hospital of Kendal. Human Factors and Ergonomics Journal, 4(2), pp. 22-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-03