การปรับปรุงแผนผังโรงงานเพื่อลดมลภาวะทางเสียงและฝุ่นของโรงงานหล่อโลหะ
คำสำคัญ:
มลภาวะทางเสียงและฝุ่น, การวางผังโรงงานอย่างมีระบบ, การปรับปรุงแผนผัง, ค่าผลรวมความใกล้ชิด, ระยะทางการขนถ่ายวัสดุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงแผนผังโรงงานหล่อโลหะแห่งหนึ่ง เพื่อลดมลภาวะทางเสียงและฝุ่นที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดคำร้องเรียนจากบุคคลภายนอกและภาพลักษณ์ด้านลบต่อทางโรงงาน ในการปรับปรุงแผนผังโรงงานจะปรับปรุงเพียงบางส่วนภายใต้ข้อจำกัด และข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างคู่แผนก โดยประยุกต์ใช้หลักการวางแผนผังอย่างมีระบบ หลังจากนั้นประเมินแผนผังที่ได้โดยใช้ทฤษฎีของ ดิลีบ อาร์ ชูล เรียกว่าค่าผลรวมของความใกล้ชิดที่เกิดจากการให้ระดับความสัมพันธ์ด้วยเหตุผลทางด้านมลภาวะร่วมกับข้อมูลการไหลของวัสดุในกระบวนการผลิต จากการประเมินพบว่าแผนผังโรงงานก่อนปรับปรุงมีค่าผลรวมของความใกล้ชิดเท่ากับ 363 เมื่อปรับผังโรงงานใหม่แล้วค่าลดลงเหลือ 276 โดยลดลง 23.96% ซึ่งบ่งชี้ว่าแผนผังโรงงานหลังการปรับปรุงสามารถลดมลภาวะทางเสียงและฝุ่นที่สอดคล้องกับค่าความใกล้ชิด ส่งผลสืบเนื่องให้สามารถลดคำร้องเรียนทางด้านมลภาวะได้ นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้ระยะทางรวมในการขนถ่ายวัสดุลดน้อยลงจากเดิมเฉลี่ย 22.41%
References
ชูศักดิ์ พรสิงห์ และสรรชัย อ่ำพุทรา. (2562). การปรับปรุงผังโรงงานและกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษาโรงงานผลิตหลอดไฟแอลอีดีตัวอย่าง.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(6), หน้า 1132-1146.
พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล, อุษณีย์ คำพูล และสมบุญ เจริญวิไลศิริ. (2563). การออกแบบแผนผังทางเลือกสำหรับโรงานแปรรูปผักและผลไม้. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,
16(4), หน้า 28-38.
มยุรา ตั้งจาตุรันต์ และคณะ. (2561). การออกแบบผังโรงงานเพื่อการปรับปรุงการจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์. ในการประชุมวิชาการ
และนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 (หน้า 1180-1186). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
Muther, Richard. (1974). Systematic layout planning (2nd ed.). Boston, MA: Cahners Books.
Sule, Dileep R. (1988). Manufacturing facilities: Location, planning and design (2nd ed.). Boston, MA: PWS-Kent.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี