ผลของการใช้กิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
คำสำคัญ:
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน, กิจกรรมทางกาย, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมทางกาย เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 แบ่งเป็นนักเรียนชาย จำนวน 17 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนาการเคลื่อนไหวมี 4 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมการวิ่ง กิจกรรมการกระโดด กิจกรรมการโยน กิจกรรมการเตะ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจความเที่ยงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีค่า IOC = .80 2) แบบทดสอบการเคลื่อนไหวที่มีความเชื่อถือได้ .95 (r = .95) ระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน โดยประเมินทักษะการเคลื่อนไหว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (Dependent t test)
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมพัฒนาการเคลื่อนไหวทำให้การเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการวิ่ง กิจกรรมการกระโดดและลงสู่พื้น กิจกรรมการโยน กิจกรรมการเตะ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการทดสอบการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมพัฒนาการเคลื่อนไหวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวได้
References
คณะกรรมการพัฒนาร่าแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. (2560). แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://dopah.anamai.moph.go.th/th/activity-plan/download/?did=185662&id=16955&reload= [2563, 22 ธันวาคม].
เจริญ กระบวนรัตน์. (2556). เอกสารประกอบการสอนกิจกรรมทางกาย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
______. (2557ก). “การประยุกต์หลักการพื้นฐานในการฝึกซ้อม (FITT)”. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ. 40(2), หน้า 5-12.
______. (2557ข). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (Science of Coaching). กรุงเทพฯ: สินธนา ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์.
ณัฐวัฒิ เอี่ยมอรุณชัย. (2558). พฤติกรรมกิจกรรมทางกายของนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มณฑิชา อุไรพงษ์. (2560). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหว และสมรรถภาพทางกลไกของเด็กอายุ 3-5 ปี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย 2559 : ตายดีวิถีเลือกได้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2560). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา สีละมาด. (2551). หลักการฝึกกีฬาสาหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2557). กิจกรรมทางกาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2556). “ถึงเวลาลดพุง”. สร้างสุข. 9(139), หน้า 6.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Giblin, Susan, Collins, Dave, & Button, Chris. (2014). “Physical Literacy: Importance, Assessment and Future Directions”. Sports Med 44,
pp. 1177-1184.
World Health Organization. (2021). WHO calls for better and fairer opportunities for physical activity to improve health (Online). Available:
physical-health [2021, October 14].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี