ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านการสอนและหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่มีผลต่อสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สกุนตลา แซ่เตียว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรินทร์ลดา จันทวีเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านการสอน, หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น), สมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาล และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านการสอนและการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่มีผลต่อสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาล วิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลาและพัทลุง จำนวน 140 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 3.88, SD = 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเสริมพลังอำนาจ (gif.latex?\bar{X}= 3.93, SD = 0.45) รองลงมา ด้านการให้คำปรึกษา (gif.latex?\bar{X}= 3.90, SD = 0.48) และด้านการเป็นผู้นำทีม (gif.latex?\bar{X}= 3.90, SD = 0.47) สำหรับด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสอน (gif.latex?\bar{X}= 3.82, SD = 0.43)
  2. ประสบการณ์การอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านการสอนและการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่มีผลต่อสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาลวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน (F = .124, p = .725)

      ดังนั้นวิทยาลัยและแหล่งฝึกควรส่งเสริมให้พยาบาลพี่เลี้ยงนักศึกษาพยาบาลมีระดับสมรรถนะสูงขึ้น  ในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการสอน 

Author Biographies

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

สกุนตลา แซ่เตียว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

References

กนกพร นทีธนสมบัติ, รัชนี นามจันทรา, พรศิริ พันธสี และอิสรีย์ เหลืองวิลัย. (2558). การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาล

พี่เลี้ยงคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 19(37), หน้า 71-88.

จันทนา โปรยเงิน และ แสงจันทร์ สุนันต๊ะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3),

หน้า 18-43.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน, ศิริพร พูนชัย, สายสมร เฉลยกิตติ และกุสุมา กังหลี. (2558). การปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลวิชาชีพในแหล่งฝึกปฏิบัติงานของ

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), หน้า 32-41.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

นันทวัน ดาวอุดม. (2550). องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลพยาบาลมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์

จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน, วัฒนา พันธุ์ศักดิ์ และฉวีวรรณ โพธิ์ศรี. (2557). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุใน

ชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), หน้า 216-224.

ลือชัย ชูนาคา และวิทยา จันทร์ศิลา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), หน้า 72-80.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. (2562). คู่มือการการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ปีการศึกษา 2562. สงขลา: ม.ป.ท.

_____________ . (2562). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง. สงขลา: ม.ป.ท.

อรชร ภาศาวัต และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก, 12(พิเศษ), หน้า 21-27.

อัญญา ปลดเปลื้อง. (2559). สมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), หน้า 168-174.

Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological

Measurement, 30(3), pp. 607-610.

McClelland, David C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence (Online). Available:

https://www.therapiebreve.be/documents/mcclelland-1973.pdf [2020, May 2].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31