ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การยอมรับนวัตกรรม, ส่วนประสมทางการตลาด, การยอมรับนวัตกรรม ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับนวัตกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงคือ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยด้านขั้นความสนใจในนวัตกรรม ด้านขั้นประเมินค่านวัตกรรม และด้านการรับรู้นวัตกรรม ตามลำดับ ส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยด้านด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยด้านการยอมรับนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
References
กรมการขนส่งทางบก. (2566). สถิติจำนวนรถจดทะเบียน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://web.dlt.go.th/statistics/index.php [2566, 12 พฤศจิกายน].
กระทรวงพลังงาน. (2565). รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.eppo.go.th/index.php/th/component/k2/item/12438-ev-plan [2566, 12 พฤศจิกายน].
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยา พิสมัย และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิจา. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชากรในกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/assr/article/view/266907 [2566, 12 พฤศจิกายน].
ธนดล ชินอรุณมังกร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1431/1/gs611110022.pdf [2566, 12 พฤศจิกายน].
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.
ศิริลักษณ์ ยังประดิษฐ์ และสุชัญญา สายชนะ. (2566). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมตามแผนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในประเทศไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2761/1619 [2566, 12 พฤศจิกายน].
Chen, S. L., & Chen, K. L. (2023). Exploring the Impact of Technological Innovation on the Development of Electric Vehicles on the Bibliometric Perspective of Innovation Types, World Electric Vehicle Journal, 14(7), pp. 1-19.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3d ed.). New York: John Wiley&Sons.
Cronbach, L. (1990). How to judge tests: Reliability and other qualities. Essentials of psychological testing. New York: Collins.
Durmus Senyapar, H. N., Akil, M., & Dokur, E. (2023). Adoption of Electric Vehicles: Purchase Intentions and Consumer Behaviors Research in Turkey. SAGE Open, 13(2), pp. 1-17.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology. 22(140), pp. 1-55.
Manjula. B.C, Shilpa. B. S, & Sundaresh, M. (2022). A Study on Barriers to Adoption of Electric Vehicles. East Asian Journal of Multidisciplinary (EAJMR), 1(7), pp. 1303-1316.
Manutworakit, P., & Choocharukul, K. (2022). Factors influencing battery electric vehicle adoption in Thailand—Expanding the unified theory of acceptance and use of technology’s variables. Sustainability, 14(8482), pp. 2-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี