การตลาดเชิงกิจกรรม ภาพลักษณ์ขององค์กรที่มีต่อทัศนคติและ การตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมของผู้บริโภค กรณีศึกษา Kave Condo

ผู้แต่ง

  • ปิยะรัตน์ มหิทธานนท์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สิริชัย ดีเลิศ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การตลาดเชิงกิจกรรม, ภาพลักษณ์ขององค์กร, การตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดเชิงกิจกรรมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดเชิงกิจกรรมที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาปัจจัยภาพลักษณ์ขององค์กรที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้บริโภคประเภท Campus Condo ของ Kave Condo จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ Google Form ส่งผ่านทางข้อความบนแพลตฟอร์ม Line ของกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละโครงการ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และโมเดลเชิงโครงสร้างผ่านโปรแกรม SmartPLS ผลการวิจัยพบว่า 1) การตลาดเชิงกิจกรรมส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค 2) การตลาดเชิงกิจกรรมไม่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร 3) ภาพลักษณ์ขององค์กรส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค และ 4) ทัศนคติส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

ปิยะรัตน์ มหิทธานนท์, สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สิริชัย ดีเลิศ, สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยางกูร กิตติธีรธำรง. (2566). เจาะตลาด Campus Condo อะไรคือกลยุทธ์มัดใจกำลังซื้อหน้าใหม่วัยนักศึกษา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://propholic.com/prop-talk/เจาะตลาด-campus-condo-อะไรคือกลยุท/#google_vignette [2566, 5 กันยายน].

เบญจมาภรณ์ พึ่งรุ่ง และคม คัมภิรานนท์. (2564). การรับรู้ภาพลักษณ์สุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ที่ส่งผลต่อทัศนคติของลูกค้าชาวไทย. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มติชนออนไลน์. (2566). “แอสเซทไวส์” ตะลุยคอนโดแคมปัส บ้านหรู ลั่นรายได้ 1 หมื่นล้านไม่ไกลเกินเอื้อม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https:// www.matichon.co.th/economy/news_3801905 [2566, 10 ตุลาคม].

วรรณวิศา ศรีคำ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้โมเดล การตัดสินใจ. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329 [2566, 12 ธันวาคม].

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. psychometrika, 16(3), pp. 297-334.

Leischnig, A., Schwertfeger, M., & Geigenmüller, A. (2011). Shopping events, shopping enjoyment, and consumers’ attitudes toward retail brands—An empirical examination. Journal of Retailing and Consumer Services, 18(3), pp. 218-223.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02