การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน

Main Article Content

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
สุวิมล สพฤกษ์ศรี
สราญจิต อ้นพา
บุญรอด ชาติยานนท์
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ
เอกชัย ภูมิระรื่น
เสกสรร สุขเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน 2) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร อาจารย์ นักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมจำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ประเด็นสนทนากลุ่ม และ 4) แบบสอบถาม และ 5) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระ ครู ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความต้องการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือ ปฏิบัติจริงโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน มีการใช้เทคโนโลยี บูรณาการสื่อสังคมออนไลน์ ด้วย Application ต่างๆ สร้างชิ้นงานภาระงานที่สร้างสรรค์ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นและให้ประสบการณ์ ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3  จัดกิจกรรม ขั้นที่ 4  นำเสนอผลงาน ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 6 ปรับปรุงและนำไปใช้ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยความสำเร็จ และมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก  (M = 4.16, S.D. = 0.36)

Article Details

How to Cite
สิทธิ์สูงเนิน ช., สพฤกษ์ศรี ส. ., อ้นพา ส. ., ชาติยานนท์ บ. ., ชนินทรภูมิ เ. . ., ภูมิระรื่น เ. ., & สุขเสนา เ. . (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 24(2), 146–159. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/262593
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2553). การเรียนรู้แบบ Activity-Based Learning. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=16207&Key=news15.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

_______. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: 2562.

จริมจิต สร้อยสมุทร. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสุขในการเรียนโดย ใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2552). สร้างลูกให้เก่งด้วย BBL. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก http://www.igetweb.com/www/sureesri/index.php?mo=3&art=377603.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2558). โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตามระบบ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Aslem, M., Ahmed, M., and Mazherm, M. (2015). Enhancing communication skills of ESL primary students through activity based learning. European Journal of Language Studies, 2(1), 1-11.

Sithsungnoen, C., and Chanintaraphum, A. (2021). The development of learning activities using activity-based learning to enhance creative learning management ability of pre-service teachers, Faculty of Education, Silpakorn. Academic journal Phetchaburi Rajabhat University, 11(2): 38 - 48.

Stubbs, S. (2011). What is inclusive education? concept sheet. save the children (UK). Retrieved September 9, 2021, from http://www.eenet.org.uk/theory_practice/whatisit.shtml.

Stößlein, M. (2009). Activity-based learning experiences in quantitative research methodology for (time-constrained) young scholars - course design and effectiveness. Changchun: School of Management, Jilin University.