รูปแบบการจัดการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านและประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

รักเกียรติ หงษ์ทอง
พิมลพรรณ สิงห์ทอง
ธนพงษ์ อุดมทรัพย์
ทิฆัมพร ขิยะพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ และ 3) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการธุรกิจกับประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้ ศึกษาจากประชากรที่เป็นผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 102 คน ด้วยวิธีการแบบผสมทั้งที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์วิธีสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีการจัดการธุรกิจระดับมากและมีความแตกต่างน้อย ในมิติการจัดการการผลิต การจัดการบุคลากร และการจัดการการตลาด ขณะที่การจัดการธุรกิจในระดับปานกลางและมีความแตกต่างน้อย ในมิติการจัดการเงินทุน 2) ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านในเขตพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีประสิทธิผลการดำเนินงานทุกมิติในระดับมากและมีความแตกต่างน้อย ได้แก่ การบรรลุเป้าหมาย การจัดการทรัพยากร ความสามารถในการผลิต และความสามารถในการปรับตัว 3) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการธุรกิจกับประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า การจัดการธุรกิจ มิติการจัดการการผลิตที่ดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์และมีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ในมิติความสามารถในการผลิตในระดับปานกลาง และมิติความสามารถในการปรับตัวในระดับต่ำมาก

Article Details

How to Cite
หงษ์ทอง ร. ., สิงห์ทอง พ. ., อุดมทรัพย์ ธ. ., & ขิยะพัฒน์ ท. . (2021). รูปแบบการจัดการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านและประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 23(1), 182–196. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/252778
บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษณะ ขาวอ่อน. (2563, 1 กรกฎาคม). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ประเภทหอย. สัมภาษณ์.
2. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. คำนาย อภิปรัชญากุล. (2548). การจัดการคลังสินค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย.
4. คำนาย อภิปรัชญากุล. (2557). การจัดการขาย. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย.
5. ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
6. ชลิตพงศ์ ทองพูล. (2563, 1 กรกฏาคม). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านประเภทปลา. สัมภาษณ์.
7. ชัยวัช โซวเจริญสุข. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-64: อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฏาคม 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/e7f3ad57-d0bb-49a4-a708-926d26857dfc/IO_Seafood_190725_TH_EX.aspx.
8. ชุลีพร มาสเนตร. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านของผู้ประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
9. ชูชีพ สังข์ผาด. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ตำบลบางแก้ว. สัมภาษณ์.
10. ชูลีรัตน์ คงเรือง. (2552). การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : สรุปย่อผู้บริหาร. สงขลา: คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
11. ญาณิกา สุขพงษ์ และพรียา ศรีเจริญกิจ. (2555). ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจการค้าอาหารทะเลสด กรณีศึกษา ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
12. ทองย้อย พุทธรักษา. (2563, 1 กรกฎาคม). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ประเภทกุ้ง. สัมภาษณ์.
13. ธนู ฮ่อนำชัย. (2555). กลยุทธ์การตลาดของผู้ส่งออกของกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกในกลุ่มอาเซียน + 6. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
14. ปรางค์ทิพย์ ประเสริฐวัฒนะ. (2562, 25 พฤศจิกายน). นักวิชาการประมงชำนาญการ สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์.
15. ปรียาวดี ผลอเนก. (2556). การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
16. พงษ์ชัย เขียวขำ. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ตำบลบางตะบูนออก. สัมภาษณ์.
17. พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: เทคนิคแผนที่นำทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
18. พิทธพนธ์ พิทักษ์. (2552). การศึกษากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต กรณีศึกษา อุตสาหกรรมล้างขวด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
19. พิทยา เผ่าจินดา. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านตำบลบางตะบูน. สัมภาษณ์.
20. ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
21. มัฆวาฬ สุวรรณเรือง และแสวง รัตนมงคลมาศ. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
22. ยุทธพงษ์ชัย เขียวขำ. (2563, 22 มิถุนายน). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ประเภทปู. สัมภาษณ์.
23. วนิดา ศักดี. (2550). การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทย : กรณีศึกษาอาหารทะเลแปรรูป. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
24. วาสนา พงษ์สำราญ. (2563, 1 กรกฎาคม). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ประเภทหมึก. สัมภาษณ์.
25. วิทยา ด่านธำรงกุล. (2561). บริหารธุรกิจความสำเร็จและความยั่งยืนบนการสร้างคุณค่า. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. วิภาดา คุปตานนท์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
27. สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, คณะวิทยาการจัดการ. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
28. สมควร สุวรรณศิริ. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 ตำบลปากทะเล. สัมภาษณ์.
29. สายพิณ โชพิกุลโย. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลปากทะเล. สัมภาษณ์.
30. สุดใจ ดลกฑรรศนนท์. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
31. สุพัตรา คำแหง, ภคพล อนุฤทธิ์ และมารุจ ลิมปะวัฒนะ. (2559). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ใน รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
32. สุรสิทธิ์ บุญชูนนท์. (2558, มกราคม-เมษายน). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่งแข็งของประเทศไทย : บริษัทผลิตอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อการส่งออก. สมาคมนักวิจัย, 20(1): 20-32.
33. สุรางค์ ศิริวัฒนะ. (2563, 22 มิถุนายน). ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้าน ประเภทเคย. สัมภาษณ์.
34. เสมอ ตู้น้อย. (2562, 27 พฤศจิกายน). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลบางขุนไทร. สัมภาษณ์.
35. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2551). รายงานการศึกษาเครือข่ายวิสาหกิจ: เครือข่ายวิสาหกิจอาหารทะเลแปรรูป จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี. ค้นข้อมูล 31 มกราคม 2562, จาก https://www.sme.go.th/uploas/mod_download/14-seafood.pdf.
36. Boyer, K. and Verma, R. (2009). Operations and supply chain management for the 21st century. Boston: Cengage Learning.
37. Cameron, K.S. (1981). The Enigma of organizational effectiveness. In New directions in program evaluation: Measuring effectiveness, pp. 1-13. Baugher, D., ed. San Francisco, CA.: Jossey-Bass.
38. Hannan, M.T. and Freeman, J. (1977). Abstacles to the comparative study of effectiveness. In New perspectives on organizational effectiveness, pp. 101-131. Goodman, P.S. and Pennings, J.M., eds. San Francisco: Jossey–Bass.
39. Mondy, R.W. and Noe, M.R. (2004). Human resource management (9th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.
40. Mott, P.E. (1972). The Characteristics of efficient organization. New York: Haper Row.
41. Price, D. and James, L. (1972). Handbook of organization measurement. London: D.C. Heath.
42. Robbins, S.P. and Coulter, M.K. (1996). Management (5thed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
43.Schein. E.H. (1970). Organizational psychology (2nd ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
44. Steers, R.M. (1977). Organizational effectiveness: A behavioral view. Santa Monica, Calif.: Goodyear.
45. Russell, R. S. and Taylor, B. W. (2011). Operations management, creating value a long the supply chain (7th ed.). New Jersey: John Willey & Sons.