แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศิสิญา อ่อนสวาสดิ์
นิตยา สินเธาว์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาการท่องเที่ยว ของอำเภอหัวหิน 2) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กับความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอหัวหิน และ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของอำเภอหัวหิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ โรงแรม ร้านอาหาร และรถโดยสารสาธารณะ ในอำเภอหัวหิน จำนวน 130 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 2) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว พบว่า ควรส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว พัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
อ่อนสวาสดิ์ ศ. ., & สินเธาว์ น. . (2023). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 25(1), 69–88. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hspbruacthjournal/article/view/266665
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.

ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ : ตามแนวคิดลำปางเมืองไม่หมุนตามกาลเวลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 13(2): 1-26.

เทศบาลเมืองหัวหิน. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) เทศบาลเมืองหัวหิน. ประจวบคีรีขันธ์: ผู้แต่ง.

นาตยา บุตรอยู่. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิรันธ์ ชิณโชติ. (2558). การพัฒนาตัวแบบยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์. (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, 21(2): 173-186.

รพีพรรณ จันทับ. (2558). ปัจจัยด้านอัตลักษณ์ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์. (2557). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของนวัตกรรมการบริการสำหรับธุรกิจนำเที่ยวภาคใต้ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สยามรัฐออนไลน์. (2564). เปิดไทม์ไลน์ “หัวหิน รีชาร์ท” แนวทางพลิกวิกฤตจากโควิด 19 เร่งฟื้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองหัวหิน. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก https://siamrath.co.th/n/243449.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 256-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Green, S. B. (1991). How many subjects dose it take to do a regression analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3): 499-510.