ศิลปะร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์แสดงอัตลักษณ์จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ
สุธิดา บุตรแขก
พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า
สุนิษา อัศวินรุ่งโรจน์
กุลเชษฐ์ ขาวไชยมหา
สรไกร เรืองรุ่ง
ภัทรภร ฐิติชาญชัยกุลา

บทคัดย่อ

แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรูปแบบร่วมสมัยเพื่อแสดงอัตลักษณ์เชิงพื้นที่นั้น สามารถใช้เนื้อหา เรื่องราว หรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องผ่านการสื่อสารโดยใช้ภาพเชิงสัญลักษณ์ เพราะทุกพื้นที่ล้วนมีเรื่องราว
ที่สามารถแสดงความเป็นตัวตนอันเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้น ๆ อาทิ ลักษณะเฉพาะทางภูมิทัศน์ วิถีชีวิต ชาติพันธุ์ความเป็นอยู่ อาหารการกิน ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งลักษณะเฉพาะเหล่านี้รวมเรียกว่า “อัตลักษณ์” การใช้เรื่องราวแสดงอัตลักษณ์จังหวัดเพชรบุรีถ่ายทอดลงสู่ผลงานศิลปะในรูปแบบของงานศิลปะร่วมสมัยเป็นแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวใหม่ในงานศิลปะ และสร้างให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้คนมากยิ่งขึ้น ผลงานศิลปะร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์มีแนวทางการออกแบบ การสังเคราะห์ข้อมูล และบูรณาการเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการถ่ายทอดความคิด จินตนาการของมนุษย์ เพื่อการสร้างสรรค์ ปรุงแต่ง โดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบทางศิลปะร่วมกับการเลือกใช้เทคนิค และวัสดุศิลปะให้มีความงามเชิงสุนทรียะ รวมถึงแสดงความสอดคล้องกับลักษณะทางประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งรูปแบบของผลงานศิลปะร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์นั้นสามารถนำเสนอด้วยกลวิธี เทคนิคและวัสดุศิลปะที่หลากหลายนำมาผสมผสานกันจนเกิดผลทางการรับรู้อย่างใหม่ขึ้นตามความเชี่ยวชาญของศิลปิน อาทิ ผลงานศิลปะเทคนิคดิจิทัลอาร์ต ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ผลงานจิตรกรรมสีอะคริลิกและทองคำเปลว ผลงานประติมากรรมปูนปั้น และผลงานศิลปะการปักผ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลเชษฐ์ ขาวไชยมหา. (2565). รวมผลงานจิตรกรรมของกุลเชษฐ์ ขาวไชยมหา. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก facebook/ Gulached Kaochaimaha

กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ศิลปะร่วมสมัย '61. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563, จาก https://issuu.com/natasha-ocac/docs/_61-final.

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย. (2563). MOCA พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพ ที่เที่ยวถ่ายรูป ของคนรักศิลปะ. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563, จาก https://travel.trueid.net/detail/3NpQ7PJP0Or9.

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย. (2563). การออกแบบลวดลายเรขศิลป์ผ้าพิมพ์ลายจากอัตลักษณ์ผ้าทอกะเหรี่ยง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 22(2): 100-121.

พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า. (2565). ประติมากรรมปูนปั้นตกแต่งผนัง. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก facebook/Poonsawat Moombansao

สุชาติ เถาทอง. (2558). ภาพสะท้อนตัวตน. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุธิดา บุตรแขก. (2561). วิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของชาวกะเหรี่ยงสู่ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัย ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 ถักทองานวิจัยท้องถิ่น ก้าวไกลสู่สากล. (หน้า 490-500). ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุนิษา อัศวินรุ่งโรจน์. (2565). ผลงานสร้างสรรค์เทคนิค Embroidery Art โดย สุนิษา อัศวินรุ่งโรจน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จาก facebook/Sunisa Assawinrungroj

สุวพร ทองธิว. (2563). ศิลปะสมัยใหม่ถึงศิลปะร่วมสมัย. นิตยสารสารคดี, 429: 58

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). อัตลักษณ์. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565, จาก www.orst.go.th.

อารีย์ กงจก. (2560). หัวใจในลายผ้า: ช่างทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี. กรุงเทพฯ: สถานีโทรทัศน์ช่อไทยพีบีเอส.

Adobe. (2023). Adobe color. Retrieved February 9, 2023, from https://color.adobe.com.