สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ยุควิถีถัดไปของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม และ 2) ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ยุควิถีถัดไปของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 127 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ เคร็จซี่ และมอร์แกน และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มย่อย ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน รองผู้อำนวยการ 1 คน และครูผู้สอน 9 คน รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยพิจารณาจากข้อคําถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป โดยในแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ทุกข้อค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของ ครอนบาค เท่ากับ 0.98 และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ยุควิถีถัดไปของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านปัจจัยสนับสนุนโครงสร้างและบรรยากาศการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน และด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 2) ความต้องการในการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านปัจจัยสนับสนุนโครงสร้างและบรรยากาศการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
Article Details
1. มุมมองและความคิดเห็นใด ๆ ในบทความเป็นมุมมองของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับมุมมองเหล่านั้นและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน แต่เพียงผู้เดียว
2. ลิขสิทธิ์บทความที่เป็นของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย การเผยแพร่จะต้องได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
จตุรงค์ พยอมแย้ม. (2564). การศึกษาไทยในยุค next normal. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2566, จาก https://il.mahidol.ac.th/th/newsletter64-page-9/.
จรัสพร บัวเรือง. (2563). การจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อทักษะการคิดขั้นสูง. วารสารการพัฒนาการศึกษา, 12(3): 45-56.
ฉัตรชัย สุกสิ, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, พุธิตา กีรติมงคลชัย, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย และอรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง. (2565). ผู้บริหารมืออาชีพยุคชีวิตวิถีถัดไป Professional executives in the Next normal age. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 18(2): 6.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
นภัค วุฒิคลาด. (2566). การประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีและพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ในผู้เรียน. วารสารพัฒนาการศึกษา, 15(2): 123-135.
พิชญา ดีมี และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(2): 123-145.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ตามหลักปรัชญาการศึกษาทางพระพุทธศาสนา. บทความในรายงานการประชุมวิชาการครั้งที่ 54 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). รูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 27, 2566, จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=3&l=3.
สุภัทรา เอื้อวงศ์. (2554). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้(online). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2566, จาก http://www.moe.go.th /wijai/RE%20learn.doc.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) (online). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2566, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/66054/.
สุวิมล มธุรส. (2565). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40): 33-42.
เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2564). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal (online). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 1, 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). 75 ปี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal (online). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 1, 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal- next-normal.
Black, P., and Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 5(1): 7–74.
Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.
Stiggins, R. (2005). Assessment for learning: An action guide for school leaders. Assessment Training Institute.