วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ผลจากการค้นคว้าวิจัย ในแง่มุมต่างๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รวมถึงการสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ และบุคคลที่สนใจทั่วไปได้มีเวทีและเปลี่ยนองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประเภทของผลงาน
1.บทความทางวิชาการ (Article) งานเขียนซึ่งเป็นที่น่าสนใจ เป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยได้กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางแก้ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในหนังสือ บทความวิชาการ อินเตอร์เน็ต ในการประกอบ วิเคราะห์ พิจารณาและเสนอแนวแนวทาง
- บทความวิจัย (Research Article) หมายถึงการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ โดบกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการศึกษา สรุปผลและอภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
- บทความปริทัศน์ (Review Article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ ทั้งกว้างและลึก มีความทันสมัยของเนื้อหาทางวิชาการโดยการวิพากษ์และมีข้อเสนอแนะแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดในการศึกษาและพัฒนาต่อไป
- บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึงการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อย ตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านอย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความ
1.เป็นบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- บทความมีความยาว 10-25 หน้ามีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
- ต้นฉบับของบทความเขียนได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่จะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- พิมพ์ผลงานด้วยกระดาษ A4 หน้าเดียวโดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
บทความวิชาการ
(Article)
|
บทความวิจัย
(Research Article)
|
บทความปริทัศน์
(Review Article)
|
บทวิจารณ์หนังสือ
(Book Review)
|
1.บทนำ
2.เนื้อหา
3.บทสรุป
4.เอกสารอ้างอิง
|
1.บทนำ
2.วัตถุประสงค์
3.วิธีการศึกษา
4.สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล
5.บทสรุป
|
1.บทนำ
2.บทสรุป
3.เอกสารอ้างอิง
|
บทความที่แสดงให้เห็นคุณค่าและคุณูปการของหนังสือ บทความหรือศิลปะ นิทรรศการศิลป์ และการแสดงละคร หรือดนตรี โดยใช้หลักวิชาและดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล
|
2.ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK 14 โดยมีข้ออกำหนดดังนี้
2.1 ขอบกระดาษ ขอบบน 1 นิ้ว ขอบล่าง 1 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1 นิ้ว
2.2 ระยะระหว่างบรรทัด หนึ่งเท่า (Single Space)
2.3 ตัวอักษร ใช้ TH SarabunPSK ตามที่กำหนดดังนี้
o ชื่อเรื่อง (Title)
- ภาษาไทย ขนาด 18 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา
- ภาษาอังกฤษ ขนาด 18 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา
o ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)
- ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย – อังกฤษ ขนาด 14 point , กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา
- ที่อยู่ผู้เขียน ภาษาไทย – อังกฤษ และ e-mail ขนาด 14 point ขนาด 14 point , กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา และ เว้น 1 บรรทัด
o บทคัดย่อ
- ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point , กำหนดกึ่งกลาง , ตัวหนา และเว้น
1 บรรทัด
- เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวธรรมดา
- เนื้อหา บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวหนา
o คำสำคัญ ให้พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 4-5 คำ ใช้ตัวอักษร ภาษาไทย หรือ อังกฤษ ขนาด 14 point
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
o Keyword ให้พิมพ์ต่อจากส่วน Abstract ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point
o รายละเอียดบทความ (Body)
- คำหลักบทขนาด 16 point , กำหนดชิดซ้าย , ตัวหนา
- หัวข้อย่อยขนาด 14 point , กำหนดชิดซ้าย , ตัวหนา
- ตัวอักษรขนาด 14 point , กำหนดชิดขอบ , ตัวธรรมดา
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
o คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
o รูปภาพและตาราง กรณีรูปภาพและตาราง หัวตารางให้จัดชิดซ้ายของคอลัมน์ คำบรรยายรูปภาพ ให้อยู่ใต้รูปภาพ และจัดกึ่งกลางคอลัมน์ เนื้อหา และคำบรรยายภาพ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point ตัวปกติ
3.ระบุคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 6 คำ
4.ให้ระบุชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน
5.บทความที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำส่งวารสาร
6. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะได้การกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน
7.หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาทางวารสารจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบแต่ไม่มีการนำส่งบทความคืนแก่ผู้เขียน
รูปแบบการอ้างอิง (การเขียนบรรณานุกรมแบบ APA)
รูปแบบการพิมพ์เอกสารอ้างอิง
- อ้างอิงจากหนังสือ
|
|
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์/: /สำนักพิมพ์.
|
|
หมายเหตุ -เส้นขีดเอียงแต่ละเส้น หมายถึง การเว้นระยะ 1 ตัวอักษร
-ชื่อเรื่องอาจทำเป็นตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องใช้ให้เป็นระบบเดียวกัน
ตัวอย่าง
วิภาส โพธิแพทย์. (2561). ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Corbett, Greville G. (2000). Number. Cambridge : Cambridge University Press.
2. อ้างอิงจากบทความในหนังสือ บทความในวราสารหรือนิตยสาร รายงานการประชุมทางวิชาการ
บทความในหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความหรือชื่อตอน,”/ใน/ชื่อหนังสือ.//ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม.// หน้าที่ตีพิมพ์บทความหรือตอนนั้น. //เมืองที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.
|
|
ตัวอย่าง
อานันท์ ปันยารชุน. (2541). “ภาวะผู้นำกับวิกฤตระบบราชการไทย,” ใน ผู้นำ. หน้า 35-41. กรุงเทพฯ : มติชน.
Diller, Anthont. (2001). “Grammaticalization and Tai Syntactic Change,” In Kalaya Tingsabadh and Arthur S. Abramson, eds. Essays in Tai Linguistics. P.139-176. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
บทความในวารสารหรือนิตยสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ.//(วัน เดือน ปี).//“ชื่อบทความ,”//ชื่อวารสาร.//ปีที่ (ฉบับที่)/:/ หน้าที่อ้างอิง.
|
|
ตัวอย่าง
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (เมษายน 2527). “การใช้สรรพนาม”. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 1(1) : 4-13.
Doran, Kirk. (January 1996). “Unified Disfied Disparity : Theory and Practice of Union Listing,” Computer in Libraries. 16(1) : 39-42.
- การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์
ชื่อผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์).// ชื่อวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์/ คณะ/ มหาวิทยาลัย.
|
|
ตัวอย่าง
สัณห์ธวัช ธัญวงษ์. (2557). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
George, Christina. (2006). Revised Syntactic Attributes for Relative Cause Simplification and Relative Pronoun Correction. Thesis (M.A.Sc.) University of Ottawa.
- การอ้างอิงจากรายงานการวิจัย และเอกสารวิจัยที่เสนอต่อหน่วยงานต่าง ๆ
ชื่อผู้เขียน. //(ปีที่พิมพ์). //ชื่อเอกสาร. //รายงานการวิจัย/เอกสารวิจัย หน่วยงาน.
|
|
ตัวอย่าง
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2538). จริยธรรมในงานวิจัย. เอกสารวิจัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
5. การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เอกสารจากเว็บไซต์
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).// ชื่อเรื่อง.//(คำบอกประเภทของแหล่ง).//แหล่งที่มา : URL.//(วัน เดือน ปีที่ค้น)
|
|
ตัวอย่าง
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ผู้รวบรวม. วชิรญาณวิเศษ เล่ม 5-9. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/wachirayanviset. (12 กุมภาพันธ์ 2555).
Klintworth, G. (2000). China and Taiwan-Form Flashpoint to Redefining One China. (Online). Available : https://www.aph.gov.au/library/pubs/rp/htm. (30 June 2000)
การส่งต้นฉบับบทความ
1.ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เอกสารประกอบด้วย
1.1 ต้นฉบับจำนวน 2 ชุด
1.2 ไฟล์ข้อมูลส่งมาที่ Email: husorbrujournal@gmail.com
- ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แนบต้นฉบับ (File Attachment) ในรูปแบบของ MS Word มายัง Email: husorbrujournal@gmail.com