การป้องกันการกระทำความผิดอาญาของเด็กและเยาวชน: เกณฑ์อายุในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวรรณ รัตนเกษตร

Abstract

                   การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากตัวเด็ก เช่น ความประพฤติไม่เหมาะสม อยากรู้ และอยากลอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีความจ าเป็นต้องมี มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการกระตุ้นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำความผิดของเด็กและ เยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ ปูองกันการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชน เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์อาจเป็นเหตุ โดยตรงหรือมีส่วนให้เกิดการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเพื่อปูองกันการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนที่ เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีความไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ในเรื่องช่วง อายุของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ซึ่งความแตกต่างในเรื่องช่วงอายุอาจส่งผล กระทบด้านลบต่อประสิทธิภาพของมาตรการปูองกันการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นเพื่อให้ กฎหมายควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปีมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นควรเพิ่มเติมข้อความว่า “ห้ามมิให้บุคคลใดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี” ในบทบัญญัติของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุระหว่าง 18-20 ปี อยู่ภายใต้การควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน


                     Offences committed by children and youths result partly from the risk factors related to the children themselves, such as inappropriate behavior, curiosity and their adventure some natures. It is important to have legal measures in place to control the risk factors that increase the likelihood of children and youths                             committing offences. It is especially important to have measures in place for alcoholic beverage control that will prevent children and youths from having access to alcohol, which appears to be a direct or contributory cause of young people committing criminal offences. This Article studies legal measures for the prevention of offenses committed by children and youths that are caused by the consumption of alcohol. The study found that the Alcohol Beverage Control Act B.E. 2551 is inconsistent with the Child Protection Act B. E. 2546 in terms of the age range of the children that are protected under both laws. The difference in the age range in these laws may have a negative impact, which could reduce the effectiveness of the measure on preventing children and youth having access to alcohol. Hence, in order to ensure that the law on alcoholic beverage control that prevents a person under the age of 20 access to alcohol can function effectively, the phrase “no person shall give alcohol to a person under the age of 20 years” should be added to the provision, so that young people between the ages of 18 - 20 years would also fall under the Alcohol Beverage Control Act.

Article Details

Section
บทความ (Articles)