การตีความการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาผลกระทบและโอกาสสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐนาฏ ฉั่วริยะกุล

Abstract

                  ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยากับยา 7 รายการตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 และยังมีแนวโน้มว่าจะประกาศกับยารักษาโรคอีกต่อไป ด้วยเหตุผลด้านยาราคาแพง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ อย่างไรก็ดี การใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการตามความตกลงทริปส์ และยังก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตัดสิทธิทางภาษีกับสินค้าบางรายการซึ่งประเทศไทยส่งออกต่อสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ซึ่งจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (Priority Watch List “Special 301” Report) ด้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจากเดิมประเทศไทยถูกจัดอันดับเพียงประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List) (ระหว่างปี พ.ศ.2545-2549)[1] ก่อให้เกิดปัญหาทำให้ผู้คิดค้นยารักษาโรคใหม่เกรงว่าหากมาจดทะเบียนสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองทางทรัพย์สินปัญญาในประเทศไทย ซึ่งต้องเปิดเผยข้อมูลในการจดทะเบียนอาจถูกใช้ข้อมูลการจดทะเบียนสิทธิบัตรของตนเพื่อบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรผลกระทบต่อการได้รับเทคโนโลยีใหม่ด้านยาใหม่ของประเทศไทย


                    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ซึ่งเป็นข้อยืดหยุ่นอันอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายขององค์การการค้าโลก อันได้แก่ อนุสัญญากรุงปารีส ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (“ความตกลงทริปส์”) ด้วยการนำหลักการตีความสนธิสัญญาแบบวิวัฒนาการมาใช้ประกอบการตีความมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรเพื่อขจัดปัญหาการที่ต่างชาติมองว่าการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิของประเทศไทยเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ อันได้แก่ ความตกลงทริปส์ เพื่อหาแนวทางการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิอย่างเหมาะสมภายใต้กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีมาตรการบังคับใช้สิทธิต่อยาของประเทศไทยและการกดดันจากสหรัฐอเมริกา [Online]. Available URL: http://www.nhrc.or.th/getattachment/07b6f800-ba4b-48c4-9958-404af06bf51c/.aspx, 2550 (พฤษภาคม, 18).
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา.“รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา.” 27 มกราคม 2554.
คณะทำงานสัมมนาและการเผยแพร่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) สังคมเศรษฐกิจไทยได้อะไร [Online]. Available URL: http://www.econ.tu.ac.th/oldweb/doc/content/440/Seminar_Paper_Series_7.pdf, 2551 (กันยายน, 15).
จักรกฤษณ์ ควรพจน์. กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
______. แนวความคิดและบทวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544.
ธนภัทร ชาตินักรบ. “การตีความสนธิสัญญาแบบวิวัฒนาการ: กรณีศึกษาคำชี้ขาดขององค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกและคณะอนุญาโตตุลาการทางการลงทุนระหว่างประเทศ.”วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.
ประชาชาติธุรกิจ. สหรัฐซัดไทย NTE 2008 สินค้าละเมิดพุ่ง CL ไม่โปร่งใส [Online]. Available URL: http://www.ftawatch.org/node/1322, 2551 (เมษายน, 3).
พัฒนรรัชต์ ฟักจันทร์. ความตกลงทริปส์ (TRIPs Agreement) [Online]. Available URL: file:///C:/Users/Administrator/Downloads/B5.pdf, 2016 (กันยายน, 24).
สุนทร ตันมันทอง. สังคมเศรษฐกิจไทยใน USTR Special 301 Report [Online]. Available URL: file:///C:/Users/Administrator/Downloads/C8.pdf, 2016 (กันยายน, 20).
สำนักข่าวเนชั่น. ร้องรัฐประกาศ CL ยาไวรัสตับอักเสบซี [Online]. Available URL: http:// www.nationtv.tv/main/content/social/378456540/, 2558 (พฤษภาคม, 20).
Avedissian, Grace K. “Global Implications of a Potential U.S. Policy Shift Toward Compulsory Licencing of Medical Inventions in a New Era of “Super-Terrorism”.” American University International Law Review 18, 1 (2002): 279.