ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ
Main Article Content
Abstract
เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของสังคมไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดในสังคม ทั้งยังเพิ่มจำนวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความเข้าใจที่คนทั่วไปในสังคมที่มีต่อการคุกคามทางเพศยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการที่กฎหมายปัจจุบันที่ยังไม่ตอบสนองต่อการป้องกันและปราบปรามการคุกคามทางเพศ ปัญหานี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควร ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบ ลักษณะของพฤติกรรมในการคุกคามทางเพศ รวมทั้งผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาของกฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม มาตรา 397 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2558 และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของการเสนอแนวทางการออกกฎหมายการคุกคามทางเพศมาบัญญัติไว้ในความผิดฐานคุกคามทางเพศ ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จากการศึกษาพบว่าหลักการทางกฎหมายในการคุกคามของประเทศไทยนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการบัญญัติการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ได้นำมาบัญญัติไว้ในภาค 3 ลหุโทษ (มาตรา 367-398) แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยความผิดในส่วนของการคุกคามตามมาตรา 397 วรรคหนึ่งนี้อาจไม่รวมถึงการคุกคามในทางเพศ (Sexual Harassment) ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในการตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ปัญหาในการกำหนด บทนิยามของกฎหมายเกี่ยวกับคุกคามทางเพศ และปัญหาในการกำหนดบทลงโทษของการคุกคาม ทางเพศ
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไข กล่าวคือ 1. ควรที่จะบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ โดยบัญญัติเป็นบทบัญญัติมาตราต่างหาก และควรอยู่ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา 2. ควรจะกำหนดนิยามความหมาย รูปแบบ ลักษณะของปัญหาการคุกคามทางเพศให้ชัดเจน 3. ควรปรับปรุงอัตราโทษปรับโดยการเพิ่มอัตราโทษให้มีความเหมาะสม 4. ควรที่จะมีการแบ่งแยกระดับของลักษณะการกระทำความผิดเพื่อกำหนดเหตุเพิ่มโทษในการคุกคามทางเพศตามพฤติการณ์และระดับความร้ายแรงของการกระทำ 5. ควรให้อำนาจผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการวางระบบเพื่อเป็นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การยื่นเรื่องร้องทุกข์หรือชี้เบาะแสในคดีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติกฎหมายเพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศนั้นสามารถใช้บังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
Article Details
References
ชุดาปณี ชิบายาม่า. “ประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศจากการทำงาน: กรณีศึกษาลูกเรือของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน).” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
ณัฐพงษ์ โปษกะบุตร. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายต่อจิตใจและค่าเสียหายเพื่อการลงโทษในคดีละเมิด: ศึกษากรณีการคุกคามทางเพศ.” ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอ งานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings), หน้า. 167. มหาวิทยาลัย-ราชภัฏภาคเหนือ (ครั้งที่ 15).
ธานินทร์ กรัยวิเชียร และอภิชน จันทรเสน. คำเเนะนำนักศึกษากฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
พินศิริ นามศรีฐาน. “ความผิดเกี่ยวกับเพศ: ศึกษากรณีการล่วงเกินทางเพศ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร-มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ภาณุวัฒน์ ศรีคร่ำ. “การล่วงเกินทางเพศแรงงานชาย.” สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2550.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 [Online]. Available URL: http://www.royin.go.th/dictionary/index.php, 2016 (April, 22).
วิมนา ธรรมปรีชา. “การคุกคามทางเพศ.” วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2533.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. “เอกสารประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... (กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” กำหนดความผิดเกี่ยวกับศพและความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม และแก้ไขอัตราโทษสำหรับความผิดลหุโทษ), ครั้งที่ 19/2557.” 30 ตุลาคม 2557.
อรพินท์ สหโชคชัย. “ประเด็นสำคัญและข้อควรรู้เกี่ยวกับการล่วงเกินทางเพศ.” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการเวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย เรื่อง กระบวนการยุติธรรมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง, กันยายน 2542, หน้า 4.
เอกพงศ์ ปลัดรักษา, “การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน.” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย 22, 1 (กรกฎาคม 2546): 108.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551.
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ.2558.
ประมวลกฎหมายอาญา.
I Law ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ. ล่วงเกินทางเพศ [Online]. Available URL: http:// ilaw.or.th/node/203,2016 (March, 24).
General Equal Treatment Act 2006.
Le Code Pénal.
Sex Discrimination Act 1984.
The Penal code or Strafgesetzbuch (StGB).