การจัดทำร่างประกาศกระทรวงกำหนด “กิจการอื่น” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543

Main Article Content

ภูมิ โชคเหมาะ

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากการวิจัยภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถาม การจัดประชุมกลุ่มย่อยใน 5 ภูมิภาครวมทั้งการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชากรกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐองค์การเอกชน องค์กรภาคธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปโดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาอธิบายและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการกำหนดลักษณะของ “กิจการอื่น” และนำผลการศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการยกร่างประกาศกระทรวงกำหนด “กิจการอื่น” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป


          ผลของการวิจัยพบว่า ในการพิจารณาประเด็นเรื่องการกำหนด “กิจการ” ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับประเด็นเรื่อง “วิสาหกิจ” และประเด็นเกี่ยวกับลักษณะของ “กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activities)” ซึ่งแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องในประเด็นเหล่านี้ มักจะปรากฏผ่านลักษณะของคำนิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Definition of SMEs) ของประเทศต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างไปตามแนวคิดและสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543  ได้กำหนดคำนิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้สองประการ คือ การกำหนดลักษณะหรือประเภทของวิสาหกิจ (Enterprise Characteristic) โดยพิจารณาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาจากคุ้มรวม (Coverage)” ประการหนึ่ง และการพิจารณาจากขนาดของวิสาหกิจ (Size Class of Enterprise) โดยนำเกณฑ์เรื่องจำนวนแรงงาน หรือสินทรัพย์สุทธิไม่รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้เป็นกรอบในการพิจารณาประการหนึ่ง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กฎหมายกำหนดไว้ประกอบด้วยภาคการผลิต ภาคการบริการและภาคการค้า ตลอดจนกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในขณะที่การกำหนดประเภทหรือลักษณะของวิสาหกิจในต่างประเทศนั้น อาจมีบางประเทศที่กำหนดให้ธุรกิจหรือวิสาหกิจทุกประเภทเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยมิได้มีการแยกประเภทหรือลักษณะของวิสาหกิจและมิได้นำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาเป็นเกณฑ์ แต่กลุ่มประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดประเภทหรือลักษณะของวิสาหกิจโดยนำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาเป็นเกณฑ์กำหนด โดยใช้หัวข้อกิจกรรมตามคำนิยามของการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (International Standard Industrial Classification: ISIC) ขณะที่ประเทศไทยก็มีระบบการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC)


          จากแนวคิดและหลักเกณฑ์ในการกำหนดกิจการตามที่ปรากฏในกฎหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย แนวคิดที่ปรากฏในการกำหนดกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของต่างประเทศ รวมทั้งแนวคิดที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ภาคส่วน คณะผู้วิจัยจึงนำมาประมวลเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดลักษณะของกิจการอื่น   ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 และดำเนินการจัดทำร่างประกาศกระทรวง จากนั้นจึงจัดให้มีการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ  ในการปรับปรุง โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นคือ กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) และการกำหนดคุ้มรวม (Coverage) โดยกรอบแนวคิดในการกำหนดกิจการอื่นนั้นคณะผู้วิจัยได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดกิจการอื่นรวม 4 องค์ประกอบ ดังนี้


 


  1. กิจการนั้นต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ

  2. กิจการนั้นต้องมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นตัวชี้วัดสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างชัดเจนและมีนัยสำคัญ

  3. กิจการนั้นต้องเป็นตัวชี้วัดทางสถิติในระบบฐานข้อมูลของ SMEs และเป็นกิจการที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของระบบการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (TSIC) หรือระบบการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (ISIC)

  4. กิจการนั้นต้องเป็นกิจการที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

          สำหรับการกำหนดคุ้มรวม (Coverage) กิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้นการพิจารณาตั้งอยู่บนเงื่อนไขว่ากิจการนั้นจะต้องมีคุณสมบัติครบองค์ประกอบ 4 ประการตามที่กำหนดไว้โดยการกำหนดคุ้มรวมต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศแต่ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัยก็เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติที่เป็นจริงในการที่หน่วยงานภาครัฐได้ให้การส่งเสริมวิสาหกิจของชุมชนและท้องถิ่นในลักษณะที่เน้นภูมิปัญญาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะของความเป็นไทยในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) คณะผู้วิจัยจึงได้ปรับปรุงคุ้มรวมและร่างประกาศกระทรวงออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้


          รูปแบบที่ 1  ร่างประกาศกระทรวงกำหนด “กิจการอื่น” โดยกำหนดเป็นรายสาขาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระบบการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (TSIC) โดยมีกิจการที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นกิจการอื่นรวม 3 กลุ่มคือ


  1. ภาคกิจการเกษตรกรรมการป่าไม้และการประมง

  2. ภาคการจัดหาน้ำและการบำบัดน้ำเสียและ

  3. ภาคกิจการการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้เป็นไปตามร่างประกาศกระทรวงกำหนดกิจการอื่นในรูปแบบที่ 1

          รูปแบบที่ 2 ร่างประกาศกระทรวงกำหนด “กิจการอื่น” โดยมีลักษณะการกำหนดกิจการแบบผสมผสานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยประกอบด้วยกิจการ ดังนี้


  1. กิจการเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง

  2. กิจการการจัดหาน้ำ การจัดการน้ำเสียและของเสีย

  3. กิจการการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์

  4. กิจการธุรกิจชนิดที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)

  5. กิจการที่เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises: SE) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หารายได้เพื่อนำมาใช้ในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

  6. กิจการที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือ ในฐานะที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprises)

  7. กิจการที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น กิจการสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น หรือกิจการที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นตามกฎระเบียบของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

          ทั้งนี้ เป็นไปตามร่างประกาศกระทรวงกำหนดกิจการอื่น ในรูปแบบที่ 2

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กชพร ศิริชัยสกุล. ฝ่ายส่งเสริมนโยบายและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางแอละขนาดย่อม. การส่งเสริม SMEs ในประเทศอิตาลี [Online]. Available URL: http://eng.sme.go.th/, 2558 (สิงหาคม, 15).
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ 80,000 คำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรพิทยา, 2547.
ป. อัตตานุภาพ. พจนานุกรมฝรั่งเศส ไทย อังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเอส พรินติ้งเฮ้าส์, 2547.
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพานิช. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย.” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2, 2546.
ฝ่ายอำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เอกสารรายงาน
การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 5/2552, 29 กรกฎาคม พ.ศ.2552.
ภักดิ์ ทองส้ม. การนำข้อมูลจากฐานข้อมูลและข้อมูลชี้วัดภาวะเศรษฐกิจมาใช้ประโยชน์เชิงนโยบายและวิเคราะห์เตือนภัย: แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลและการ
บูรณาการข้อมูล SMEs. [Online]. Available URL: http://www.sme.go.th/Site CollectionDocuments4-การพัฒนาข้อมูล.pdf, 2558 (พฤษภาคม, 5).
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊กส์พับลิเคชั่นส์จำกัด, 2556.
วรรณภา คล้ายสวน. “บัญชีประชาชาติระบบใหม่.” วารสารเศรษฐกิจและสังคม 44, 4 (ตุลาคม- ธันวาคม 2550).
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. รายงานการศึกษาโครงการการศึกษาสถานภาพและแนวโน้มการย้ายฐานธุรกิจของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นมายังประเทศไทย. เสนอต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: 2555.
สมยศ เชื้อไทย. คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2553.
สำนักข้อมูลและวิจัย. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2557.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. คู่มือเบื้องต้นการร่างกฎหมายและแบบของกฎหมาย.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. เศรษฐศาสตร์น่ารู้ [Online]. Available URL: http:// www.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article41.htm, 2558 (สิงหาคม, 15).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การจัดประเภทมาตรฐาน-อุตสาหกรรมประเทศไทยปี 2552. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติ-แห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยปี 2552. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล็อก, 2553.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ทฤษฎีระเบียบวิธีสถิติ. [Online]. Available URL: http://service.nso.
go.th/nso/nsopublish/know/estat2_3.html, 2558 (พฤษภาคม, 5).
สำนักประสานและบริหารโครงการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. คำนิยาม SMEs. [Online]. Available URL: http://www.sme.go.th/Pages/Define.aspx, 2558 (สิงหาคม, 15).
สุพัฒน์ อุ้ยไพบูลย์สวัสดิ์. เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย-รามคำแหง, 2553.
สุมาลี วงษ์วิทิต และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือองค์การเอกชนที่ต้องรายงานสถิติข้อมูลต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 40. กรุงเทพมหานคร: 2557.
หยุด แสงอุทัย. ร่างกฎหมาย. ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย, 2523.
อานันท์ เกียรติสารพิภพ และคณะ. สำนักวิชาการและสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภา-ผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.
เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม. วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในอิตาลี. [Online]. Available URL: http://news.thaieurope.net/content/view/459, 2558 (พฤษภาคม, 5).
พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548.
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539.
พระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ.2534.
พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2530.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520.
พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ.2509.
พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509.
กฎกระทรวงกำหนดจำนวนจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545.
SME Corp. Malaysia.Secretariat to the National SME Development Council. Guideline for new SME Definition [Online]. Available URL: http://www.smecorp.gov.my/vn2/node/533, 2558 (สิงหาคม, 15).
Standard Productivity and Innovation Board of Singapore: SPRING. Factsheet on new SMEs Definition. [Online]. AvailableURL: http://www.spring.gov.sg/NewsEvents PRDocumentsFact_Sheet_on_New_SME_Definitionpdf, 2558 (สิงหาคม, 15).
United Nations Statistics Division (UNSD). International Standard Industrial.