เหตุแห่งการฟ้องหย่า: หลักการแยกกันอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันของประเทศไทยและออสเตรเลีย

Main Article Content

วุฒิ ศรีธีระวิศาล

Abstract

                 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) กำหนดว่า กรณีที่คู่สมรสสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี คู่สมรสจะฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายเพื่อให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน อันเป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่าประการหนึ่งในประเทศไทย แต่ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อคู่สมรสสมัครใจแยกกันอยู่ การหาที่อยู่ใหม่ของคู่สมรสที่แยกกันอยู่ย่อมมีค่าใช้จ่าย ก่อให้เกิดภาระแก่คู่สมรสฝ่ายที่ต้องเก็บข้าวของออกไปจากที่พักอาศัยที่เคยอยู่ร่วมกัน และยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่บ้านหลังเดียวกัน แต่อยู่คนละห้อง คนละชั้น ไปก่อน โดยไม่ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันเป็นเวลาเกินสามปีแล้ว ปัญหาว่า หากสามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ แต่ยังคงอยู่ในที่พักอาศัยเดียวกัน กรณีสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขจะมีแนวทางพิจารณาในเรื่องนี้อย่างไร ในเรื่องนี้ กฎหมายครอบครัวของประเทศออสเตรเลียได้วางหลักที่ชัดเจนไว้ภายใต้ "หลักการแยกกันอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน" เป็นหลักการพิจารณากรณีที่คู่สมรสแยกกันอยู่และอยู่ห่างจากกันแม้ว่าคู่สมรสจะยังคงอาศัยอยู่ในที่อยู่เดียวกันก็ตาม เป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่าได้ และมีคดีที่เกิดขึ้นโดยตรงที่ศาลประเทศออสเตรเลียได้วินิจฉัยไว้แล้ว เมื่อเปรียบเทียบเหตุฟ้องหย่าดังกล่าวของประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516 (4/2) กับประเทศออสเตรเลีย ตามพระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัว ค.ศ.1975 มาตรา 48 (2) และมาตรา 49 (2) แนวความคิด และคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องแล้ว บทความนี้พบว่า หลักการแยกกันอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันที่ได้ศึกษาในกฎหมายครอบครัวของประเทศออสเตรเลียน่าจะนำมาใช้ในการตีความว่าเป็นเหตุหย่าของการสมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516 (4/2) แต่การพิจารณาถึงการที่คู่สมรสสมัครใจแยกกันอยู่แต่ยังคงอยู่ภายในบ้านเดียวกัน หรือที่อยู่อาศัยเดียวกัน แต่ต่างฝ่ายต่างแยกกันอยู่ จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไป โดยคำนึงถึงลักษณะที่ขาดจากความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาโดยสิ้นเชิงและถาวร ประกอบฐานะทางเศรษฐกิจของสามีภริยาและบริบทของสังคมไทยมาพิจารณาควบคู่กัน

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

จิตรพรต พัฒนสิน. กระบวนการร่างกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย (Parliamentary Counsel’s Office): 5-28. [Online]. Available URL: http://web.krisdika.go.th/ pdfPage.jsp?type=act&actCode=258, 2563 (พฤษภาคม, 7).
ชาติชาย อัครวิบูลย์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552.
ธนิษฐา มุ่งดี. ภายใต้วาทกรรมครอบครัวในระบบกฎหมายไทย: กรณีศึกษาคําพิพากษา: 51-63. [Online]. Available URL: https://www.law.cmu.ac.th/lasc/conference/wp-content/uploads/ sites/2/2017/09/5%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b8%90%e 0% b8%b21.pdf, 2563 (มีนาคม, 22).
ธวัชชัย มิตรโกสุม. “เหตุหย่า: ศึกษากรณีการจงใจทิ้งร้าง.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2551.
นันทนัช สิมะโชคดี. “เหตุหย่าเพราะครอบครัวแตกร้าว: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ.”วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เนติบัณฑิต, 2558.
ประสพสุข บุญเดช. หลักกฎหมายครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.
พชร สุขนันตพงศ์. “ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการหย่าตามมาตรา 1516 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ศึกษากรณีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้ที่มีเพศเดียวกัน.”วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 7, 1 (สิงหาคม-พฤศจิกายน 2561): 476-488.
พุดทะสอน บุญมีไช. “เหตุหย่าที่เกิดจากการกระทำความผิดของคู่สมรส: ศึกษากรณี “มีชู้” เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายครอบครัวไทยและ ส.ป.ป. ลาว.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.
ไพโรจน์ กัมพูศิริ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2546.
มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ และคณะ. โครงการวิจัยเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของศาลเยาวชนและครอบครัวในการพิจารณาคดีฟ้องหย่าและการดูแลบุตร. สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม, 2557.
ริญญาภัทร์ณ สงขลา. ความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย: 384-405. [Online]. Available URL: https://www.law.cmu.ac.th/lasc/conference/wp-con tent/uploads/sites/2/2017/09/27%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c.pdf, 2563 (พฤษภาคม, 7).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา ของรัฐธรรมนูญ 2560 [Online]. Available URL: https://www.parliament.go.th/ ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/download/article/article_20191021103453.pdf, 2563 (มีนาคม, 22).
Bates, Frank. “The law, sexual behaviour and a no fault divorce system: the Australian experience.” The Comparative and International Law Journal of Southern Africa 17, 3 (1984): 358-379.
Cornell Law School. In the marriage of TODD (No. 2) [Online]. Available URL: https:// www.law.cornell.edu/women-and-justice/resource/in_the_marriage_of_todd_(no._2), 2020 (April, 1).
_______. In the Marriage of Pavey [Online]. Available URL: https://www.law.cornell. edu/women-and-justice/resource/in_the_marriage_of_pavey, 2020 (April, 1).
Family Court of Australia. Separated, but living under one roof? [Online]. Available URL: http://www.familycourt.gov.au/wps/wcm/connect/057c1a57-1092-4475-ae7c-a9386cff02e6/FSDIVSEP_0313+V2.pdf?MOD=AJPERES&CONVERT_TO =url&CACHEID=ROOTWORKSPACE-057c1a57-1092-4475-ae7c-a9386cff02e6-lLd2SAs, 2020 (April, 1).
Family Law Act 1975.
Federal Register of Legislation. Family Law Act 1975 [Online]. Available URL: https://www.legislation.gov.au/Details/C2019C00182, 2020 (March, 23).
_______. Matrimonial Causes Act 1959 [Online]. Available URL: https://www. legislation.gov.au/Details/C1959A00104, 2020 (March, 25).
Finlay, H. A. “The Grounds for Divorce: The Australian Experience.” Oxford Journal of Legal Studies 6, 3 (1986): 368-391.
Hall, Joyce C. Sources of Family Law. Cambridge: Cambridge University Press, 1966.
Hooton, Amanda. ‘I moved out of our bedroom, my ex wouldn‘t’: separated couples living together [Online]. Available URL: https://www.theadvocate. com.au/story/5235322/i-moved-out-of-our-bedroom-my-ex-wouldnt-separated-couples-living-together/, 2020 (April, 2).
In the Marriage of Caretti (1977) FLC 90-270.
In the Marriage of Falk (1977) 29 FLR 463.
Kirkpatrick, Graham. “Incompatibility as a Ground for Divorce.” Marquette Law Review 47 (1964): 453-464, 453.
Lawton, Melissa. “The Constitutionality of Covenant Marriage Laws.” Fordham Law Review66 (1998): 2471-2516, 2480-2481.
Legal Aid NSW. Who we are [Online]. Available URL: https://www.legalaid.nsw.gov. au/about-us/who-we-are, 2020 (April, 2).
_______. Divorce factsheet 3 – Separation under the same roof [Online]. Available URL: https://www.legalaid.nsw.gov.au/get-legal-help/factsheets-and-resources/divorce-factsheet-3-separation-under-the-same-roof, 2020 (April, 2).
Livermore, Maree. Family law handbook. 3rd ed. Pyrmont, N.S.W.: Thomson Reuters (Professional) Australia, 2012.
Matrimonial Causes Act 1959.
“Matrimonial Causes.” Adelaide Law Review 2, 2 (1964): 237-242.
Parliament of Australia. Part V - Powers of the Parliament [Online]. Available URL: https://www.aph.gov.au/about_parliament/senate/powers_practice_n_procedures/~/link.aspx?_id=AFF6CA564BC3465AA325E73053DED4AA&_z=z#chapter-01_part-05_51, 2020 (March, 23).
Pulford v. Pulford [1923] P.D.A. Division P. 18.
Rivlin, Ram. “The Right to Divorce: Its Direction, and Why It Matters.” International Journal of the Jurisprudence of the Family 4 (2013): 133-157.
Rodgers, Joe. “The Effect of No-Fault Divorce Law on the Divorce Rate Across the 50 States and Its Relation to Income, Education and Religiosity.” Journal of Marriage and Family 57, 2 (1995): 477-488.
Services Australia. Centrelink [Online]. Available URL: https://www.servicesaustralia. gov.au/individuals/centrelink, 2020 (April, 2).
Social Security Guide. 2.2.5.30 Determining Separation Under One Roof [Online]. Available URL: https://guides.dss.gov.au/guide-social-security-law/2/2/5/30, 2020 (April, 2).
Services Australia. Relationship details - Separated under one roof form (SS293) [Online]. Available URL: https://www.servicesaustralia.gov.au/individuals/ forms/ss293, 2020 (April, 2).
_______. Relationship details Separated under one roof [Online]. Available URL: https://www.servicesaustralia.gov.au/sites/default/files/ss293-1907en.pdf, 2020 (April, 2).
Sosna v. Iowa, 419 U.S. 393, 419-20 (1975).
Swisher, Peter Nash. “Marriage and Some Troubling Issues with No-Fault Divorce.” Regent University Law Review 17 (2005): 243-259.
Tranter, Kieran Mark. Lyndal Sleep and John E. Stannard. “The Cohabitation Rule: Indeterminacy and Oppression in Australian Social Security Law.” Melbourne University Law Review 32, 2 (2008): 698-738.
Universal Declaration of Human Rights.
Wolters Kluwer. In the marriage of TODD, R.W. and TODD, Y.D. (No. 2) (1976) FLC 90-008, Family Court of Australia, 12 March 1976 [Online]. Available URL: https://pinpoint.cch.com.au/document/legauUio598043sl18926238/in-the-marriage-of-todd-r-w-and-todd-y-d-no-2, 2020 (April, 1).