ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

Main Article Content

สุณิชญา ธีรโรจน์วิทย์

Abstract

                 การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดในการกู้เงินนอกระบบเป็นปัญหาสำคัญที่นอกจากหน่วยงานภาครัฐต่างร่วมกันแสวงหาแนวทางการให้ช่วยเหลือลูกหนี้ให้รอดพ้นจากการเอารัดเอาเปรียบของเจ้าหนี้แล้ว ยังเป็นเรื่องที่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและก่อให้เกิดข้อถกเถียงถึงความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีในลักษณะนี้อยู่เสมอ เนื่องจากในการตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว ลูกหนี้ส่วนใหญ่อยู่ฐานะเสียเปรียบต้องจำยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินสมควรและเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามสำหรับปัญหาในเรื่องนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ที่ 5376/2560 วางหลักการให้ความเป็นธรรมที่แตกต่างจากแนวคำพิพากษาฎีกาในอดีตได้อย่างน่าสนใจ โดยศาลฎีกาพิพากษาให้นำเงินที่ลูกหนี้ได้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปหักออกจากเงินต้นส่วนที่ลูกหนี้ยังคงค้างชำระไว้กับเจ้าหนี้ได้ ถือเป็นการปรับใช้กฎหมายเพื่อความยุติธรรมและคุ้มครองลูกหนี้ที่มีสถานการณ์ต่อรองที่ต่ำกว่าได้อย่างชอบธรรม และน่าจะถือเป็นการวางแนวทางคำพิพากษาในคดีลักษณะดังกล่าวนี้ต่อไป

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงการคลัง. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน [Online]. Available URL: https://1359.go.th/committee/doc/ภาครัฐ_การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ.pdf, 2562 (มีนาคม, 27).
เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม. “บทวิเคราะห์คำพิพากษา: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2560 (การเรียกคืนเงินที่ชำระดอกเบี้ยที่กำหนดโดยต้องห้ามตามกฎหมาย).” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 36, 1 (มีนาคม 2561): 155-163.
พิมพ์ใจ รื่นเริง. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันละขันต่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2557.
พรชนก ขาวรอด. “ปัญหาและอุปสรรคการใช้กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2558.
มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันละขันต่อ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2535.
วิชัย สุวรรณประเสริฐ. “ยุติธรรมเดินหน้าช่วยประชาชน: ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกับความรับผิดทางอาญา (ตอน 2).” วารสารยุติธรรม 17, 5 (2560): 58-61.
วนิดา อินทรอำนวย. การกู้ยืมเงินและการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด [Online]. Available URL: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt _dl_link.php?nid=1835, 2562 (พฤษภาคม, 8).
สุธีร์ ศุภนิตย์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วิชาเอกเทศสัญญา 2 ยืมและฝากทรัพย์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2558.
สมชัย ฑีฆาอุตมากร. หมายเหตุท้ายฎีกา 5376/2560. ม.ป.พ.
สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล. หนี้นอกระบบกับความเป็นธรรมทางสังคม [Online]. Available URL: http:// www.cusri.chula.ac.th/backup/download/cluster6.pdf, 2562 (กรกฎาคม, 24).
สำนักงานศาลยุติธรรม. สำนักแผนงานและงบประมาณ. รายงานสถิติคดีศาลยุติธรรม ทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์เพชรดาวรุ่ง, 2559.
สำนักงานศาลยุติธรรม. รายงานจำนวนข้อหาที่เข้าสู่การพิจารณาสูงสุด 5 อันดับแรกของศาลฎีกา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์เพชรดาวรุ่ง, 2561.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. รายงานการเงินฐานราก ไตรมาสที่ 1 ปี 2561 โครงการ “ศ”: ศึกษาโดยไม่หยุดนิ่ง [Online]. Available URL: http://www2.fpo.go.th:81/FIDP/Source/ Article/Source/data/บทความสถานการณ์การเงินฐานรากไตรมาสที่%201%20ปี%202561.pdf, 2562 (มีนาคม, 26).
อรวรรณ เกษร. กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา [Online]. Available URL: https://www. parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1763, 2562 (พฤษภาคม, 11).
RYT9. รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนเมษายน 2561 [Online]. Available URL: https://www.ryt9.com/s/mof/2828738, 2562 (มีนาคม, 27).
The Bangkok Insight. จัดให้! รัฐบาลเปิด 5 มิติแก้หนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน [Online]. Available URL: https://www.thebangkokinsight.com/161133/, 2562 (กรกฎาคม, 12).
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475.
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560.
ร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ....
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2512.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2560.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2552.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2533.