การพัฒนากฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิเกษตรกร

Main Article Content

สมชาย รัตนชื่อสกุล
อังค์วรา ไชยอนงค์

Abstract

                 เกษตรกรเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช  เนื่องจากพันธุ์พืชที่ใช้ในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์พืชของเกษตรกรในอดีต รวมถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวพันกับพันธุ์พืชนั้นด้วย อย่างไรก็ดี สิทธิของเกษตรกรไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธินักปรับปรุงพันธุ์ได้ อีกทั้งสิทธิบัตรและสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกร รวมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการฉกฉวยทรัพยากรชีวภาพหรือที่เรียกว่าโจรสลัดชีวภาพที่ประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ สิทธิเกษตรกร(Farmers’ Rights) ซึ่งเป็นสิทธิรวมหมู่ของชุมชน (Collective Rights) แม้จะได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ และปรากฏในข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ แต่กล่าวได้ว่า สิทธิเกษตรกรเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ปรากฏในกฎหมายภายในของบางประเทศ และสิทธิเกษตรกรในหลายกรณียังคงเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น ขณะที่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิทธิบัตรและสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งเป็นเพียงสิทธิเอกชน (Private Rights) กลับมีสภาพบังคับในทางกฎหมายทั้งในระดับระหว่างประเทศและในประเทศอย่างชัดเจน


               งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์และนำเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) และสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture: ITPGR) เพื่อให้สิทธิเกษตรกรในประเทศไทยได้รับการรับรองและมีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจนเทียบเท่าสิทธิ     ในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อมุ่งให้ทรัพยากรชีวภาพ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพได้รับ   การคุ้มครองและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนภายใต้กลไกการคุ้มครองสิทธิเกษตรกร

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

ปรารภ สิริสาลี.“การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพยากรพันธุกรรมพืช: แนวทางทางกฎหมายสำหรับประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
รุจินันท์ วาธีวัฒนารัตน์. “มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเกษตรกร กรณีศึกษาการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542.” วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 4, 1 (2561): 14.
สมชาย รัตนชื่อสกุล. “สิทธิเกษตรกร: ผลกระทบจากร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช.” แก่นเกษตร 42, 2(2557): 139-146.
สุรไกร สังฆสุบรรณและคณะ. โครงการวิจัยการศึกษาสถานภาพและผลกระทบจากการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, 2555.
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542.
Bala, Ravi S. Manual on Farmers’ Rights. Chennai, India: M. S. Swaminathan Research Foundation, 2004.
Brush, Steven. “Farmers’ Rights and Protection of the Traditional Agricultural Knowledge.” World Development 35, 9 (September 2007): 1499-1514.
Bunning, Sally E. and Catherine L.M. Hill, Farmers rights in the conversation and use of plant genetic resources: Gender Perspective [Online], available URL: http://www.fao.org/3/X0255E/x0255e03.html, 2019 (April, 16).
Clark, Susanna E. “The Protection of Indigenous Knowledge in Peru: A Comparative Perspective,” Washington University Global Studies Law Review 3, 755 (2004): 757.
Cottier, Thomas. “The Protection of Genetic Resource and Traditional Knowledge: Towards More Specific Rights and Obligation in World Trade Law.” Journal of International Economic Law 1, 4 (1998).
Jorge Cabrera Medaglia. Intellectual Property Rights Management, Benefit Sharing Policies and Practices of Costa Rica’s INBio [Online]. Available URL: http:// www.digital-development-debates.org/issue-01-biodiversity--patent-rights--in tellectual-property-rights-management.html, 2019 (March, 8).

treaties/14/14-01/food-organization.xml, 2019 (November, 23).
Convention on Biological Diversity.
International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture.
Protection of Plant Varieties and the Farmers’ Rights Act 2001.
The Biological Diversity Act 2002.