ความท้าทายของภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายในประเทศไทย

Main Article Content

ดวงเด่น นาคสีหราช

Abstract

                 ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายเป็นวิชาที่มีลักษณะและการใช้งานเฉพาะ กล่าวคือ คำศัพท์เฉพาะทางกฎหมาย ด้วยเหตุที่ภาษากฎหมายมีวิธีการใช้ที่ยุ่งยากและมีศัพท์ทางกฎหมายมากมายจึงไม่น่าแปลกใจว่าภาษาอังกฤษโดยทั่วไปยากแล้ว ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากฎหมายยิ่งยาก นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย เช่น ทนายความ ผู้พิพากษา อัยการ นิติกร อาจารย์ นักการทูต พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เป็นต้น หากผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจจากหลักและพื้นฐาน พร้อมเทคนิคในการนำวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวนิสิตนักศึกษากฎหมายที่จบการศึกษาแล้วเข้าทำงานด้านกฎหมายในอนาคต


                จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายมีหลายประการ เช่น พื้นฐานทางภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายของผู้เรียนแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานทางหลักไวยากรณ์ โครงสร้างประโยคเบื้องต้น หรือความสามารถในการอ่าน การฟัง การพูดและการเขียนที่แตกต่างกัน เป็นต้น จึงนำมาสู่ความท้าทายของภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปสรรคในการเรียนและการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศไทย


               ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องแสวงหาเทคนิคและวิธีการสอนใหม่ๆ ที่น่าสนใจ มีความหลากหลายและพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของนิสิตนักศึกษาของคณะที่จะนำไปใช้งานได้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ ควรรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของนิสิตนักศึกษากฎหมายประกอบด้วย รวมถึงนิสิตนักศึกษากฎหมายไม่ควรกลัวที่จะตั้งคำถามในประเด็นที่สับสน แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายกับอาจารย์ผู้สอน ย่อมนำไปสู่การสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์ผู้สอนและความเข้าใจและการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษทางกฎหมายได้ดียิ่งขึ้นของนิสิตนักศึกษากฎหมาย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ.2561 [Online]. Available URL: http://www.mua.go.Th /users/tqfhed/news/data6/Bachelor%20of%20Laws_r.pdf, 2562 (มีนาคม, 25).
จันทรลักษณ โชติรัตนดิรก. ภาษาอังกฤษเบื้องต้นสำหรับนักกฎหมาย (Introduction to English for Lawyers). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2551.
จุมพต สายสุนทร. การร่างสัญญาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552.
จุมพล นันทศิริ. การเขียนภาษาอังกฤษเชิงกฎหมาย (legal writing in English). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2547.
ดวงเด่น นาคสีหราช. คู่มือเตรียมสอบอังกฤษ (English) สำหรับ ก.พ. ภาค ก และงานราชการ (All in 1). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562.
ดวงเด่น นาคสีหราช และพงกานต์ คงศรี. คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายเพื่อเตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการผู้ช่วยและตำแหน่งอื่นด้านกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย (English for Lawyers) หน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย-สุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
วิชญะ เครืองาม. “ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย.” เอกการประกอบคำบรรยายเนติบัณฑิต ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร. 5 มีนาคม 2563, หน้า 182-183.
_______. “ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย.”เอกการประกอบคำบรรยายเนติบัณฑิตครั้งที่ 3.12 มีนาคม 2563.
เสฏฐา เธียรพิรากุล. “วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย.” เอกการประกอบคำบรรยายเนติบัณฑิต ครั้งที่ 3. 11 กุมภาพันธ์ 2563.
อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. ความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552.
Brown, S. Whittington. Legal Terminology. United States: Thomson Delmar Learning, 2006.
Garner, Bryan A. Black's Law Dictionary. 5th. ed. USA: Thomson Reuters, 2011.
Goodwin, Gabrielle L. “Introduction to Legal English.” บรรยาย ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในโครงการการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย ครั้งที่ 2, 26 เมษายน 2562.