ปัญหาความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลจากการใช้มาตรการเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
Abstract
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของทางทะเลมักมีบัญญัติให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหาย เสียหาย ส่งมอบชักช้า หากเหตุแห่งความเสียหาย สูญหาย ส่งมอบชักช้าดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างที่ของอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง โดยมีการยอมรับข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีที่ความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นจากเหตุที่ผู้ขนส่งไม่ควรต้องรับผิดชอบ เช่น การเกิดจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล นอกจากนี้ผู้ขนส่งอาจได้รับประโยชน์จากการจำกัดความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนความเสียหาย แต่รับผิดเพียงจำนวนเท่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เพราะหากไม่มีการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในการขนส่งของทางทะเล ผู้ขนส่งต้องรับผิดตามหลักกฎหมายทั่วไปซึ่งเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ขนส่งจำต้องคิดค่าระวางในอัตราที่สูงซึ่งเป็นการรวมเอาค่าความเสี่ยงเข้าไปในค่าระวาง จึงทำให้ค่าระวางในการขนส่งของระหว่างประเทศสูงเกินสมควร หลักการยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งและหลักการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นหลักกฎหมายสำคัญที่สร้างความสมดุลและความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในการขนส่งของทางทะเล
แต่ในขณะเดียวกันปัจจุบันนี้ความสำคัญของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบไม่เพียงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญและสมควรที่จะได้รับการยอมรับโดยขยายความคุ้มครองออกไปสู่กฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งของทางทะเล เพราะการขนส่งของทางทะเลเป็นการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากและมีการรายงานถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากเรือเดินทะเล หรือการขนส่งของทางทะเลอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับหลักสากล และเพื่อส่งเสริมการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม จึงสมควรศึกษาหลัก กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่งจากการใช้มาตรการเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมต่อไป
Article Details
References
วารี นาสกุล. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., 2559.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธ์. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552.
ศักดิ์ สนองชาติ. คำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดทางละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2544.
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2473.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2549.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2492.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2555.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542.
Bernie, Patricia. Alan Boyle and Catherine Redgwell. International Law and The Environment. 3rd ed. New York: Oxford University Press, 2009.
Best, Arthur and David Barnes. Basic Tort Law: Cases, Statutes, and Problems. New York: Aspen Publishers, 2007.
Charter of the United Nations.
Cooke, John. Law of Tort, 9th ed. Essex: Pearson Education Limited, 2009.
Elliott, Catherine and Frances Quinn. Tort Law. 7th ed. Essex: Pearson Education Limited, 2009.
Goode, Roy. Goode on Commercial Law. Finland: Penguin Books, 2010.
Harpwood, Vivienne. Modern Tort Law 7th ed. Oxon: Routledge-Cavendish, 2009.
Kiss, Alexandre and Dinah Shelton. Guide to International Environmental Law. Boston: MartinusNijhoff Publishers, 2007.
LouKa, Elli. International Environmental Law. New York: Cambridge University Press, 2006.
Nordquist, Myron and others. United nations convention on the law of the sea: A commentary. Dordrecht: MartinusNijhoff Publishers, 2002.
Report of the World Commission on Environment and Development: Our Common Future [Online]. Available URL:http://www.un-documents.net/our-common-future.pdf, 2019 (February, 2).
Sand, Philippe. Principle of International Environment Law. 2nd ed. UK: Cambridge University Press, 2003.
Sunkin, Maurice. David M. Ong and Robert Wight. Source Book on Environmental Law. 2nd ed. UK: Cavendish Publishing Limited, 2002.
Stuhmcke, Anita. Essential Tort Law. 2nd ed. London: Cavendish Publishing, 2001.
Surocco v. Geary, 3 Cal. 69 (Cal. 1853).
The Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment.
The Hague Rules as Amended by the Brussels Protocol 1968.
The Mayor of Bradford v Pickles, [1895] AC 587.
The Rio Declaration on Environment and Development.
The United Nations Convention on the Law of the Sea.